เศรษฐกิจโลก ในมุมมองของเจ้าพ่อไมโครซอฟท์

เมื่อเร็วๆ นี้มหาเศรษฐีระดับโลก บิล เกตส์ (Bill Gates) ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า “การประเมินเศรษฐกิจของภาครัฐยังขาดตกบกพร่อง และมองข้ามเรื่องสำคัญอย่างต้นทุนสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน รัฐบาลต่าง ๆ ควรใส่ใจเพื่อให้ประเมินเศรษฐกิจโลกถูกต้องมากกว่านี้” เมื่อ 40 ปีที่แล้ว บิล เกตส์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ กิจการของบริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดดส่งผลให้เกตส์ครองแชมป์คนร่ำรวยที่สุดในโลกยาวนานสองทศวรรษ จนกระทั่ง เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) ผู้ก่อนตั้งเว็บ Amazon เข้ามาโค่นแชมป์เมื่อปี พ.ศ.2560 ปัจจุบันเกตส์ใช้ชีวิตวัยเกษียณมาก 4 ปีแล้ว อ่านหนังสือและทำบุญเป็นประจำ เกตส์มีความเข้าใจและแนะนำว่านักเศรษฐศาสตร์ควรเขียนทฤษฎีเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกขึ้นมาใหม่

ในบล็อกของเขาได้โพสต์กราฟที่แสดงความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างอุปสงค์และอุปทานจากที่เขาเคยเรียนครั้งแรกจากหลักสูตรเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในวิทยาลัย เขาสังเกตเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับแบบจำลองทางเศรษฐกิจ นั่นคือหลักสูตรการเรียนไม่ได้อธิบายการทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ทำให้ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง

กราฟดั้งเดิมอธิบายกลไกของตลาดว่าต้นทุนการผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณสินค้าที่ผลิตขาย ลองนึกภาพฟอร์ดออกรถรุ่นใหม่ รถคันแรกมีค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องใช้ลงทุนออกแบบและทดสอบ แต่หลังจากนั้นรถแต่ละคันต้องใช้วัสดุและแรงงานจำนวนมาก รถคันที่สิบยังมีต้นทุนเท่ากับรถคันที่ 1,000 ซึ่งอธิบายกลไกของตลาดที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลกเกือบตลอดศตวรรษที่ 20 รวมทั้งสินค้าเกษตรและอสังหาริมทรัพย์ด้วย

Stian Westlake

ซอฟต์แวร์ ถึงจับต้องไม่ได้ แต่เป็นสินทรัพย์มากมูลค่า

อุตสาหกรรมยานยนต์อาจใช้โมเดลเศรษฐศาสตร์แบบเก่า แต่ใช้กับอุตสาหกรรมยุคใหม่ไม่ได้ ไมโครซอฟท์อาจใช้เงินก้อนใหญ่ในการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ชิ้นแรก แต่ทุกชิ้นหลังจากนั้นมีการผลิตอย่างอิสระ แตกต่างจากสินค้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเราในอดีต ซอฟต์แวร์เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งไม่เฉพาะแค่แต่ซอฟแวร์เท่านั้น ยังมีข้อมูล ประกัน e-books หรือแม้แต่ภาพยนตร์ ควรเปลี่ยนความเข้าใจทฤษฎีเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ อ้างอิงตำราเรียนเดิมไม่ได้แล้ว ความคิดของเกตส์ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือทุนนิยมของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ Jonathan Haskel และ Stian Westlake อธิบายถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาสินทรัพย์ที่จับต้องได้อย่างฟอร์ด กับ สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอย่างไมโครซอฟท์

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ถ้าธุรกิจล้มเหลว ต้นทุนที่จมของฟอร์ดจะชดเชยค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ด้วยการขายเครื่องจักรและสินค้าคงคลัง แต่ไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรมาชดเชย จุดอ่อนตรงนี้ทำให้คู่แข่งเข้ามาฉวยประโยชน์ง่ายดาย เช่น ธุรกิจแท็กซี่สายพันธุ์ใหม่อย่าง Uber เป็นเจ้าของเครือข่ายคนขับแท็กซี่ แต่คนขับรถ Uber จะย้ายค่ายไปขับให้ Lyft เมื่อไรก็ได้

การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ควรเปลี่ยนแปลงได้แล้ว

ทุกวันนี้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องผูกมิตรกันเพื่อสร้างคุณค่ามากขึ้น ตัวอย่างเช่น iPod เครื่องฟังเพลงพกพาของบริษัทแอปเปิล ซึ่งเป็นแค่เครื่องเล่นเพลง แต่สิ่งที่ทำให้มีคุณค่ามากขึ้นคือการใช้โปรโตคอล MP3 เพื่อเล่นเพลงลิขสิทธิ์จากค่ายเพลงได้ เรื่องเหล่านี้เป็นโมเดลเศรษฐกิจยุคใหม่ เกตส์ชี้ว่าภาครัฐควรปรับนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อสะท้อนถึงความเป็นจริงใหม่เหล่านี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมเศรษฐกิจโลกอย่างสมบูรณ์ กว่าสหรัฐจะรวมธุรกิจซอฟต์แวร์ในการคำนวณจีดีพีก็ล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ.2542 แม้กระทั่งทุกวันนี้ยังไม่นับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอย่าง ต้นทุนการวิจัยตลาด การสร้างแบรนด์และการฝึกอบรมที่แต่ละบริษัทลงทุนไปจำนวนไม่น้อย ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงแหว่งวิ่น ไม่ถูกต้องสมบูรณ์

เศรษฐกิจโลก ในมุมมองของเจ้าพ่อไมโครซอฟท์