ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2565 เงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจตกต่ำ

ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2565 เงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจตกต่ำ

เศรษฐกิจโลกและไทยในช่วงครึ่งปีที่เหลืออยู่ของปี 2565 จะเป็นอย่างไร นักวิชาการจำนวนไม่น้อยมองผลกระทบของปัจจัยลบต่างๆ ยังคงพ่นพิษร้ายฉุดเศรษฐกิจตกต่ำ วิกฤตเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพงต่อเนื่อง ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นเป็นไปได้ว่าปีหน้านานาประเทศจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อมองอนาคตเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครนทำให้ชาติตะวันตกร่วมมือกันคว่ำบาตรกดดันรัสเซีย ส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านพลังงาน อาหาร และเงินเฟ้อสูง ประชาชนต้องจ่ายค่าครองชีพแพงขึ้นและไม่มีเงินไปจับจ่ายใช้สอยอย่างเพียงพอเป็นผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอีก ภาระหนี้สินของประชาชนสูงขึ้น เมื่อเงินขาดมืออาจเกิดการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นซึ่งวิกฤตขาดสภาพคล่องนั้นเสี่ยงนำไปสู่ภาวะล้มละลายของธุรกิจในวงกว้าง

ช่วงกลางปี 2565 ธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อทำให้ประเทศอื่นๆ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยตามไปในทิศทางเดียวกัน เช่น แบงก์ชาติอังกฤษปรับดอกเบี้ย 0.25% สู่อัตราดอกเบี้ย 1.25% ถือว่าสูงสุดในรอบ 13 ปี เป้าหมายคือควบคุมเงินเฟ้อที่สูงถึง 9% ในเดือนเมษายน แตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี เป็นผลจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้เกิดวิกฤตด้านพลังงานและอาหาร เกิดปัญหาขาดแคลนธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน

เห็นได้ว่านโยบายการเงินของสหรัฐและไทยแตกต่างกันชัดเจน หลังจากที่สหรัฐปรับขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ ทางประเทศไทยยังไม่ปรับเพิ่มดอกเบี้ย แต่ไทยเราพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน ราคาน้ำมันทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น และกดดันเงินบาทให้อ่อนค่า รายได้จากการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้นและภาวะเงินเฟ้อสูง ประชาชนที่มีรายได้น้อยลดการจับจ่ายใช้สอย ซื้อเฉพาะสิ่งของจำเป็น ส่วนยอดซื้อสินค้าอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้า รถยนต์ บ้าน จะลดลง ปัญหาจะรุนแรงยิ่งขึ้นในปีหน้า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไม่เพียงกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยในสังคมเท่านั้น ยังจะลุกลามสู่การใช้ชีวิตของชนชั้นกลางอีกด้วย

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกทำให้ประเทศไทยส่งออกได้น้อยลง ธุรกิจขนาดใหญ่อาจได้รับผลกระทบทำให้หนี้สูงขึ้น ประสบปัญหาการเงินในอนาคตและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะล้มละลาย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะเติบโต 4.1% ลดลงจาก 4.5% ส่วนคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะเติบโตประมาณ 4.4% ลดลงจากระดับ 4.9% ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ จีน และยุโรปมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีระดับหนึ่ง แม้จะไม่แข็งแกร่งเหมือนเคย เพราะทาง IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เช่นเดียวกัน

ปัจจัยลบที่ยังคงต้องจับตามองในช่วงปลายปีนี้คือสถานการณ์ของโควิด-19 จะดีขึ้นมาน้อยแค่ไหน ภาวะเงินเฟ้อสูงที่ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง ธุรกิจน้อยใหญ่ขาดสภาพคล่อง และผลกระทบจากสงครามของรัสเซียที่ผลักดันราคาน้ำมันแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาสินค้าและอาหารแพงคงจะไม่แก้ไขได้ง่ายๆ

เงินเฟ้อเป็นเหตุ ค่าเงินอาเซียนอ่อนยวบ เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย

ค่าเงินบาทอ่อนตัว

ภายหลังจากการประชุมเฟดเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์เงินไหลกลับ มีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงจากทั่วโลก โดยเฉพาะเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี เพียงแค่ 24 ชั่วโมงหลังจากการประชุมของเฟด ก็มีการเทขายเหรียญคริปโตทุกเหรียญออกมาเป็นเงินมากถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ เหตุกังวลมาจากเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยสูงถึง 0.75% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 0.50% หลังจากที่มีการประกาศอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ที่ 8.3%

ไทยบาทอ่อน ลาวอาจถึงขั้นวิกฤต

สำหรับประเทศไทยค่าเงินบาทมีการปรับตัวอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการอ่อนค่าไปที่ระดับ 34 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 5 ปี ในขณะที่ค่าเงินอื่น ๆ ในแถบอาเซียนเองก็มีการปรับตัวอ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะค่าเงินกีบจากประเทศลาว ที่หลายฝ่ายกังวลว่าอาจเกิดวิกฤตในลาวและตามรอยของศรีลังกาก็เป็นได้ โดยค่าเงินกีบเมื่อต้นปี อยู่ที่ 32,000 กีบ/100 บาท แต่ปัจจุบันมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 42,000กีบ/100 บาท

ส่งผลให้ภายในประเทศเกิดวิกฤตพลังงาน เพราะไม่มีเงินทุนสำรองในประเทศมากพอที่จะซื้อน้ำมันได้ หลังจากในช่วงที่ผ่านมีราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นมากซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาการรบกันระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ประกอบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐมีการแข็งค่าขึ้น ในขณะที่หลายฝ่ายมีการคาดการณ์ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ลาวกู้เงินจากจีนมาลงทุนรถไฟความเร็วสูง 100% ทำให้ขาดดุลทางการค้าและทิศทางของดอกเบี้ยที่กำลังจะกลายเป็นขาขึ้น เกรงว่าจะได้รับผลกระทบจนเกิดเป็นวิกฤตทางการเงินขึ้นได้

ผลกระทบต่อปัญหาค่าเงินบาทอ่อน

หากมองตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วการที่ค่าเงินอ่อนตัวมักจะส่งผลดีต่อภาคส่งออก ที่สามารถขายสินค้าจำนวนมากได้ แต่ในส่วนของการนำเข้าสินค้าเข้ากลับได้รับผลกระทบ เพราะต้องซื้อสินค้าและวัตถุดิบในราคาแพงขึ้น ในขณะที่ค่าเงินอ่อนมาก ๆ ก็จะทำให้ขายสินค้าได้ในราคาถูกลง โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิตและขายออกต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ประชาชนก็จะได้ซื้อสินค้าราคาแพง ในส่วนของบริษัทที่มีหนี้เป็นเงินดอลลาร์ก็จะพบปัญหาในเรื่องของการชำระหนี้คืนหากไม่มีการทำประกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินไว้ เช่น ตอนกู้ กู้มา 1 ล้าน USD คิดเป็นเงินไทย 32,000,000 บาท แต่เมื่อถึงเวลาใช้คืนต้องใช้คืนมากถึง 34,000,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเพิ่มขึ้นในเร็ววันนี้

แม้โดยภาพรวมค่าเงินบาทที่มาแตะระดับ 34 บาทต่อดอลล่าร์ได้นั้นจะไม่น่ากังวลเท่าใด แต่เราก็ไม่ควรประมาทในการใช้เงิน เพราะปัจจุบันสินค้าต่าง ๆ ในท้องตลาดมีราคาที่ปรับตัวขึ้นสูงมาก ทำให้หลายครอบครัวได้รับผลกระทบ คงต้องรอดูต่อไปว่าทิศทางของค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อจะเป็นเช่นไร ได้แต่ภาวนาให้สงครามรัสเซียและยูเครนสามารถเจรจาและจบลงโดยเร็ว อย่างน้อยก็พอช่วยให้คลายวิกฤตราคาน้ำมันแพงในขณะนี้ได้

เจาะเทรนด์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปี 2022

ในปี 2022 อีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางหลักของการทำธุรกิจที่คนค้าขายต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อส่งเสริมยอดขายให้ดีขึ้น การซื้อสินค้าออนไลน์กลายเป็นกระแสนิยมเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปและหันมาเลือกซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น แม้แต่แบรนด์ใหญ่ยังต้องพึ่งพายอดขายบนเว็บไซต์เพื่อชดเชยความตกต่ำของยอดขายในร้านค้าปลีก

นักการตลาดคาดว่า การรุกของอีคอมเมิร์ซจะขยายตัวต่อไป ธุรกิจอีคอมเมิร์ซต้องออกแบบเว็บไซต์ที่ดึงดูดความสนใจผู้ซื้อมากขึ้น ซึ่งพบว่าผู้บริโภคมากกว่า 60% สนใจเนื้อหาที่เป็นรูปภาพมากกว่าอ่านเนื้อหาบทความเพราะเห็นคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้เร็วกว่า การทำโฆษณาด้วยรูปภาพต้องการเปลี่ยนจากรูปแบบ JPEG และ PNG ให้กลายเป็น WebP จะปรับปรุงคุณภาพของรูปภาพและความเร็วในการโหลด รวมถึงแสดงผลบนหน้าจอมือถือได้ดีด้วย

ในโลกอีคอมเมิร์ซมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับเทคโนโลยีใหม่ที่ผ่านเข้ามาและผ่านไปอย่างรวดเร็ว ผู้ค้าปลีกออนไลน์ต้องติดตามเทรนด์ล่าสุดให้ทันเสมอ เรียนรู้เท่าทันว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตและวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจตามความเหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า พร้อมกับรักษาความสามารถในการแข่งขันจึงจะรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ได้

ธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เทรนด์ที่มีแนวโน้มมาแรงในปี 2022 คือการทำธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสร้างชื่อเสียงในทางบวก การเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคจำนวนมากพึงพอใจและต้องการมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประกอบการของธุรกิจ แต่นักช้อปออนไลน์จำนวนไม่น้อยกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของอีคอมเมิร์ซที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผู้ค้าปลีกมักใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์มากเกินไปในการจัดส่งสินค้า ไม่เพียงแต่ทำให้สินค้ามีน้ำหนักมากแล้วยังมีราคาต้นทุนสูงขึ้นด้วย

วิธีการชำระเงินผ่านมือถือ

การชำระเงินผ่านมือถืออำนวยความสะดวกให้การซื้อขายทั่วโลกมีความคล่องตัวมากขึ้น การชำระเงินที่ได้รับความนิยม เช่น Apple Pay, Samsung Pay และ Android Pay กำลังปรับปรุงวิธีการทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยเชื่อถือได้ที่ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจว่าข้อมูลส่วนตัวไม่รั่วไหล นอกจากนี้การชำระเงินยังใช้งานง่ายขึ้น โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องป้อนรายละเอียดข้อมูลบัตรเครดิตหรือที่อยู่จัดส่งด้วยตนเอง เพียงแค่แตะปุ่ม Apple Pay แล้วสแกนลายนิ้วมือก็จะชำระเงินได้สำเร็จ

สำหรับงานด้านเว็บไซต์ ผู้ให้บริการควรศึกษา Mataverse ไว้ด้วย วันนี้เราเห็นเว็บข่าวบอลเป็นแบบเข้าไปกดคลิกอ่าน อนาคตอ่านเป็นเป็นโลก 3D แทนจากเทคโนโลยีที่มีพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันผู้คนใช้โซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ด้วยเหตุผลนี้ เทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตามองคือตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะง่ายต่อการซื้อ เมื่อเห็นเป็นโอกาสที่ดีควรเข้าไปเจาะตลาดขายสินค้าหรือบริการก่อนคู่แข่ง สามารถเพิ่มช่องทางการขายที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าชาวไทยที่พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และหันมาซื้อทางออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี

นักลงทุนติดตามข่าวเศรษฐกิจโลกจากเว็บไซต์อะไรดี

นักลงทุนติดตามข่าวเศรษฐกิจโลกจากเว็บไซต์อะไรดี

การติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลกมีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายของนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจไม่ได้จำกัดแต่เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เท่านั้น ยังมีความเชื่อมโยงกับการเมือง การทูต เทคโนโลยี ฯลฯ ในประเทศต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ ก็ควรหาข้อมูลและอ่านบทวิเคราะห์จากแหล่งเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือได้ ดังที่เราได้นำมาฝากกัน ดังนี้

1. Investing.com

มีทั้งรูปแบบของเว็บไซต์ที่ดูได้สะดวกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์และผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือที่ให้ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลภาษาอังกฤษจากสำนักข่าวมืออาชีพ ผู้ที่ชื่นชอบการเล่นหุ้นทั้งแบบระยะสั้นและยาว รวมถึงใฝ่รู้เรื่องการซื้อขายคริปโตฯ ควรติดตามการเคลื่อนไหวของราคาที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจภาพรวมของโลกผ่านเว็บไซต์นี้เป็นประจำ จุดเด่นของเว็บไซต์นี้คือ การได้อ่านบทวิเคราะห์สถานการณ์ของตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เพื่อมองทิศทางการลงทุนได้อย่างเหมาะสมด้วย

2. Tradingeconomics.com

จากชื่อของเว็บไซต์ก็สร้างความมั่นใจแล้วว่าเหมาะกับการติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลกในกลุ่มนักลงทุนมืออาชีพ รวมถึงคนที่มองหาแหล่งลงทุนในต่างประเทศในจังหวะที่เหมาะสม เพราะเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในแต่ละช่วงจังหวะ ซึ่งเว็บไซต์นี้จะมีข้อมูลการวิเคราะห์และสถิติย้อนหลังหลายปี ทำให้ประเมินสถานการณ์การลงทุนในอนาคตได้อย่างรอบคอบยิ่งขึ้น

3. Bloomberg.com

Bloomberg เป็นที่รู้จักในวงการนักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนมายาวนาน เป็นแหล่งความรู้ที่ดีเหมาะกับคนที่เก่งทั้งด้านภาษาอังกฤษและการลงทุนแบบมืออาชีพ เพราะภาษาที่ใช้ในแต่ละบทความและทุกคลิปการสัมภาษณ์จะมีความสละสลวยอย่างมาก ให้ความรู้ในเชิงลึกและกว้าง อย่างที่หาจากแหล่งข้อมูลอื่นเทียบได้ยาก

4. Forexfactory.com

คนที่หลงใหลการลงทุนแบบ Forex ที่มีอัตราการตอบแทนที่สูงมากเมื่อเทียบกับการเล่นหุ้น เพราะต้องเป็นประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าก่อนลงทุน หากคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องก็จะกลายเป็นมหาเศรษฐีได้ในช่วงค่ำคืนได้ไม่ยากเลย ForexFactory มีความคล้ายกับ investing.com ตรงที่มีการนำเสนอบทวิเคราะห์ในรูปแบบของกราฟและปฏิทินข่าวสารที่เข้าใจง่ายและเหมาะกับคนที่อยากเข้าสู่วงการ Forex ด้วย

5. Intergold.co.th 

สำหรับคนที่ชอบติดตามข่าวสารการเมืองและสังคมที่ส่งผลต่อราคาทองคำ ขอแนะนำให้เข้าไปชมในเว็บไซต์ intergold.co.th เป็นประจำ จะทำให้รู้ว่าจังหวะใดควรซื้อขายทองคำหรือควรที่จะศึกษาการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงกันไป

จะเห็นได้ว่าเว็บไซต์เพื่อการติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลกมีมากมาย ไม่ใช่มีเพียงแต่เว็บไซต์ภาษาไทยเท่านั้นที่เราต้องติดตามข่าวสารในประเทศกันอยู่แล้ว การชมเว็บไซต์ภาษาอังกฤษจากสำนักข่าวชั้นนำที่มีชื่อเสียงดังที่เราแนะนำไป จะทำให้คุณได้รับข่าวสารอย่างรวดเร็วฉับไว ตัดสินใจด้านการลงทุนได้ดีขึ้น และไม่ต้องกังวลเรื่องของการแปลภาษาที่ผิดเพี้ยนอีกด้วย

5 ภัยที่ต้องเตรียมรับมือกับเศรษฐกิจโลกในปี 2022

5 ภัยที่ต้องเตรียมรับมือกับเศรษฐกิจโลกในปี 2022

ด้วยเหตุที่ในปี 2021 นั้นเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 จึงส่งผลให้วิกฤตเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อคนทั่วโลก ทั้งยังนำมาซึ่งปัญหาครอบครัว การขาดแรงงาน ตลอดจนสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ซึ่งภัยที่เข้ามาคุกคามนี้ทำให้เศรษฐกิจโลกในปี 2022 จำเป็นต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ แต่จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกัน

1.โควิดสายพันธุ์ดื้อวัคซีน

ด้วยเหตุที่เชื้อไวรัส โควิด-19 คือสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจโลกดิ่งลงต่ำสุดและด้วยการผันผวนของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ นักลงทุนจึงประเมินผลกระทบนี้ว่า โควิด-19 สายพันธุ์ที่ดื้อวัคซีนอาจนำมาซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจโลกในระยะยาว อาจอยู่ระหว่าง 5 ปี จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาเศรษฐกิจนี้ได้

2.ปัญหาคอขวด

ในช่วงปีที่ผ่านมาหลายคนคงสังเกตเห็นแล้วว่าสถานการณ์การขนส่งสินค้า ตลอดจนแรงงานคนมีปัญหาติดขัดในหลาย ๆ ด้าน อาทิเรื่องตู้คอนเทนเนอร์และการกระจายสินค้าที่ไม่เป็นไปตามแผน ด้วยเหตุนี้ปัญหาคอปวดซัพพลายเชนจึงเป็นหนึ่งในปัญหาที่จะส่งผลให้การวัตถุดิบในการผลิตต่าง ๆ กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2022

3.เทคโนโลยีจากประเทศจีน

จีนคือประเทศมหาอำนาจที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียโดยตรง ทั้งยังมีประวัติเคยช่วยให้โลกรวดพ้นจากภาวะปัญหาโควิด-19 ในช่วงแรกมาได้ ด้วยเหตุนี้ประเทศจีนจึงมีการออกกฎมากมายในเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ ตลอดจนการไม่ยอมเลิกนโยบาย “ให้โควิดเป็นศูนย์” ของรัฐบาลปักกิ่ง กล่าวโดยสรุปคือหากโลกเรายังคงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นแม้เพียง 1 คน ก็อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในปีนี้ได้เช่นกัน

4.ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์

จากประเด็นที่เราอาจทราบกันดีแล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรยุโรปนั้นยังคงน่าเป็นห่วง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนก็ยังคงตึงเครียดด้วยเรื่องของไต้หวันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดนี้ยังคงมีความเสี่ยงที่อาจนำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจโลกได้แบบฉับพลัน

5.เงินเฟ้อ

แม้เรื่องนี้ทางธนาคารกลางยุโรปจะยืนยันว่าเงินเฟ้อสูงขึ้น เพราะปัจจัยชั่วคราว อย่างอุปทานขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนผลกระทบพื้นฐานต่าง ๆ จนนำมาซึ่งเงินเฟ้ออ่อนตัวลง แต่ความไม่สมดุลทั้งจากอุปสงค์และอุปทานระดับมหภาคนี้ จึงทำให้เงินเฟ้อในยูโรโซนและสหรัฐฯจึงพุ่งสูงขึ้นในรอบหลายปี ธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนกำหนดเพื่อสกัดเงินเฟ้อในปี 2022

ในปี 2022 หลายคนคงคาดหวังว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ทั้งนี้การฟื้นตัวก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เพื่อให้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวไม่เกิดขึ้นหรือลดน้อยลงไปได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ประชากรโลกส่วนใหญ่เพื่อลดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อันจะนำมาซึ่งความเสี่ยงของวิกฤตเศรษฐกิจโลกตลอดปี 2022

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ปี 2022

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ปี 2022

โลกถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยระบบทุนนิยมมานานนับศตวรรษหลายอย่างเปลี่ยนไปชนิดที่ว่าแทบจะไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม  ทรัพยากรโลกที่มีอยู่อย่างจำกัด  แต่ถูกนำมาใช้อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด 

ปี 2022 น่าจะเป็นอีกปีที่ท้าทายความสามารถคาดของผู้ประกอบการจากทั่วโลกว่าจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตของผลกำไรให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องได้หรือไม่ จะมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจโลกให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง วันนี้เรามาลองวิเคราะห์ความเป็นได้ด้วยกัน

1. การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ปี 2022 มีแนวโน้มว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จะยังเป็นปัญหาให้นานาชาติต้องหาแนวทางร่วมมือกันเพื่อแก้ไขต่อไป และเรื่องนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ง่าย  ล่าสุดประเด็นการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ชื่อว่าโอไมครอน  ที่พบการระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกาใต้และอีกหลายประเทศทั่วโลกในเวลานี้ ได้สร้างความวิตกกังวลให้ประชาคมโลกอยู่ไม่น้อย

2. เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่ประชาคมโลกต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อแก้ไข  ไม่เช่นนั้นมวลมนุษยชาติอาจถึงกาลอวสาน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นหนึ่งในคำตอบของการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนดังกล่าว  อีกทั้งนโยบายจากผู้นำฝั่งตะวันตกเช่นสหรัฐก็ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ และผู้นำฝั่งตะวันออกอย่างจีนก็ขานรับเช่นกัน

3. สงครามการค้า

ความขัดแย้งระหว่างสองผู้นำมหาอำนาจระหว่างสหรัฐกับจีนที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน  ปี 2022 มีทีท่าว่าจะไม่จบลงง่าย ๆ ยังจะส่งผลกระทบต่อวงการธุรกิจการค้าการลงทุนต่อไป ผู้ประกอบการคงต้องเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือปัญหาดังกล่าว

4. เทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรม

ความก้าวหน้าด้านการตัดต่อพันธุกรรมน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ  ด้านการแพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น  ส่งผลให้ประชากรโลกมีสุขภาพดีขึ้น อายุยืนยาวขึ้น อีกทั้งนักปรับปรุงพันธุ์พืชจะสามารถคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

5. ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

หลายประเทศเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะอัตราการเกิดของประชากรต่ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตคือปัญหาขาดแคลนแรงงาน  ปี 2022 จะเป็นโอกาสของประเทศที่มีประชากรในวัยแรงงานจำนวนมาก เช่น ประเทศเวียดนาม

เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก การติดตามข่าวสารไม่ว่าทางการแพทย์ เศรษฐกิจสังคม รวมถึงการเสาะแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุนทำธุรกิจด้วยตัวเองอยู่เสมอ จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้าน และทำให้เราพร้อมรับต่อสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่อาจเกิดทั้งด้านร้ายและด้านดีได้มากขึ้น

เศรษฐกิจโลกหลังโควิดจางลงจะเป็นอย่างไร

เศรษฐกิจโลกหลังโควิดจางลงจะเป็นอย่างไร

หลังวิกฤติโควิดจางลงซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าเพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อในภูมิภาคต่าง ๆ ยังคงขึ้น ๆ ลง ๆ เอาแน่นอนไม่ได้ แต่ยังไงเสียสุดท้ายวิกฤตินี้ก็ต้องจางลงอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว สิ่งที่ทุกคนกำลังสนใจก็คือหลังจากโควิดจบลงเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะเป็นอย่างไร? แน่นอนว่า อะไร ๆ มันต้องดีขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกภาคส่วน ดังเช่น

ภาคการท่องเที่ยว
คงจะค่อย ๆ ฟื้นตัว พื้นที่ต่าง ๆ ที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อต่ำอาจจะฟื้นตัวเร็วกว่าภูมิภาคที่จำนวนผู้ติดเชื้อยังสูง บวกกับการหยุดนิ่งมานานทำให้หลายกิจการในภาคการท่องเที่ยวเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคงต้องใช้เวลาปรับตัวสักพักจึงจะกลับมาให้บริการได้สมบูรณ์อีกครั้ง

ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
อานิสงค์จากตัวเลขการจับจ่ายที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นทั่วโลกจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมพลิกกลับมาได้ไวกว่าประเภทอื่น แต่ปัญหาที่มองข้ามไม่ได้ก็คือภาวะการขาดแคลนแรงงานจากการที่ต้องหยุดกิจการไปนาน รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายแรงงานหลังเกิดการระบาดจำนวนมาก ซึ่งกว่าแรงงานเหล่านี้จะกลับเข้าระบบคงต้องใช้เวลาสักพักเลยทีเดียว

การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติโควิดก็คือการนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาในการทำงานจนก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่มากมาย ตรงนี้เองที่ทำให้ภาคแรงงานเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน โดยงานหลายจำพวกอาจไม่จำเป็นต้องใช้คนจำนวนมากอีกต่อไป

ภาคเกษตรกรรม
จากช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบทั้งจากความต้องการของตลาดทั่วโลกหายไปเพราะผู้คนหยุดเดินทาง กิจการร้านค้า ร้านอาหารถูกสั่งปิด เมื่อทุกอย่างกลับมาเปิดเหมือนเดิม แน่นอนความต้องการที่เคยหยุดชะงักไปกำลังจะกลับมา พืชผักผลไม้หลายชนิดจะกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง ซึ่งนั่นจะช่วยผลักดันให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

แต่สิ่งที่ทั่วโลกยังคงกังวลอยู่ก็คือความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐกับจีน ที่มีมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติโควิด จนโควิดใกล้จะจบ ดูท่าว่าก็จะยังไม่ยุติหรือเบาบางลง ปัญหายักษ์ชนยักษ์สร้างผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเรื่องการกีดกันทางการค้า ซัพพลายเชนที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่อาจจะไม่เหมือนเดิม

ปัญหาอีกอย่างที่อาจจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไม่เร็วอย่างที่หวังก็คือการที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกอัดฉีดเม็ดเงินไปเป็นจำนวนมากในช่วงเกิดวิกฤติโควิดเพื่อพยุงเศรษฐกิจและจัดการการระบาด เงินจำนวนนี้ส่วนมากเป็นหนี้สินที่กำลังจะสร้างภาระทางการเงินการคลังให้กับหลายประเทศ หากบริหารจัดการในส่วนนี้ได้ไม่ดี แทนที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัว อาจจะกลายเป็นซึมยาวต่อเนื่องไปอีกหลายปีก็เป็นได้

แต่ไม่ว่าเศรษฐกิจโลกหลังโควิดจะฟื้นตัวช้าหรือเร็วอย่างไร แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปแน่ ๆ คือเราทุกคนจะใช้ชีวิตแบบเดิมอีกไม่ได้ จากบทเรียนในช่วงวิกฤติที่ผ่านมาสอนเราว่า “จงอยู่ในความไม่ประมาท” เพราะไม่มีใครรู้ว่าข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีก

เว็บไซต์ที่นักลงทุนควรติดตามข่าวเศรษฐกิจโลกเว็บไซต์ที่นักลงทุนควรติดตามข่าวเศรษฐกิจโลก

เว็บไซต์ที่นักลงทุนควรติดตามข่าวเศรษฐกิจโลก

การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกมีผลต่อการขึ้นลงของหุ้น กองทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ในไทย การติดตามข่าวสารที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ จะช่วยให้การตัดสินใจซื้อขายทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรามาดูกันว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่ควรเข้าไปหาข้อมูลเป็นประจำเพื่อติดตามข่าวเศรษฐกิจทั่วโลก

Investing.com
Investing.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลทางการเงินน่าเชื่อถือและมีความหลากหลายมิติในการวิเคราะห์ ถือว่าอยู่ในระดับแนวหน้าของเว็บข่าวสารธุรกิจ ทั้งยังมีการแสดงกราฟหุ้นและอนุพันธ์ต่าง ๆ เหมาะกับผู้ที่ลงทุนในผลิตภัณฑ์การเงินที่มีความผันผวนสูง ต้องติดตามข่าวสารอย่างรวดเร็วและใกล้ชิด ที่สำคัญเว็บไซต์ Investing.com ยังให้ข้อมูลแบบฟรี ไม่มีบริการพรีเมี่ยม ทุกคนจึงสามารถศึกษาข้อมูลเพื่อการลงทุนได้เท่าเทียมกัน

1.Morningstar.com
นักธุรกิจที่ชอบลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงหลากหลายถึง 8 ระดับ เราขอแนะนำเว็บไซต์ Morningstar.com เพราะเป็นเว็บไซต์รวมข้อมูลและจัดอันดับกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ ทั้งที่ลงทุนในหุ้นไทยชั้นนำและที่เป็นแบบกองทุนลูกผสม มีสัดส่วนลงทุนในต่างประเทศมากน้อยแตกต่างกันไป และชื่อ Morningstar.com ก็มาจากการให้ดาว 1-5 ดวง ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือและความเสี่ยงต่าง ๆ จึงถือว่าเป็นเว็บไซต์อันดับต้น ๆ ที่ถูกใจนักลงทุนยุคใหม่

2.Bloomberg.com
Bloomberg.com เป็นเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงมาก เหมาะกับผู้ที่รักการติดตามข่าวธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และมีความสามารถการอ่านและฟังภาษาอังกฤษ หากคุณต้องการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกแบบนักลงทุนมืออาชีพ เราแนะนำให้สมัครเวอร์ชั่นพิเศษที่อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 1,800 ดอลลาร์ จะทำให้ได้รับบทวิเคราะห์ที่ละเอียดและรอบด้านยิ่งขึ้น ทำให้มีโอกาสลงทุนแล้วได้กำไรสูงตามไปด้วย

3.Reuters.com
ชื่อเสียงของรอยเตอร์มีมานานหลายสิบปีแล้ว เพราะเป็นสำนักข่าวที่สื่อสารถึงผู้ชมอย่างรวดเร็ว ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างใกล้ชิดและนำเสนอผ่านบทวิเคราะห์ที่หลากหลาย หากคุณเป็นนักลงทุนที่ชอบการเรียนรู้ข้อมูลแบบองค์รวม เราแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ Reuters.com เป็นประจำ

4.ForexFactory.com
สำหรับคนที่ชอบลงทุนประเภทให้ผลตอบแทนสูงแบบก้าวกระโดด พร้อมรับมือกับความเสี่ยงสูงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน การลงทุน Forex อาจตอบโจทย์นี้ เราแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ ForexFactory.com บ่อย ๆ เพื่อติดตามข่าวเศรษฐกิจทั่วโลก ที่อาจกระทบต่อตัวเลขอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ จะทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนมีโอกาสได้กำไรมากยิ่งขึ้น

เว็บไซต์ที่นักลงทุนสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกได้อย่างรวดเร็วมักเป็นภาษาอังกฤษ หากคุณมีความชำนาญด้านภาษา ไม่ต้องรอการแปลเป็นไทย เราแนะนำให้ดูเว็บไซต์ที่กล่าวมานี้เป็นทางเลือกแรกเพื่อการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ อย่างฉับไว แต่หากไม่ถนัดการใช้ภาษาอังกฤษ ก็แนะนำเว็บไซต์ชั้นนำภาษาไทยที่น่าเชื่อถือ จะทำให้คุณเกาะติดสถานการณ์เศรษฐกิจโลกได้ดียิ่งขึ้น

ผลกระทบความไม่เท่าเทียมของวัคซีน ทำเศรษฐกิจโลกเสียหายหนัก

ผลกระทบความไม่เท่าเทียมของวัคซีน ทำเศรษฐกิจโลกเสียหายหนัก

อาจกล่าวได้ว่า นอกเหนือจากมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-2019 แล้ว วัคซีนก็เป็นอีกความหวังหนึ่งที่จะสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ได้โดยไม่ก่อให้เกิดความบอบช้ำทางด้านเศรษฐกิจโลกให้มากไปกว่านี้ แต่ปรากฏว่าความไม่เท่าเทียมกันของการได้รับวัคซีนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กลับทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจหนักหนายิ่งขึ้น

ความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีน ได้แก่ การที่ประเทศร่ำรวยหลายประเทศได้สั่งซื้อวัคซีนไปเป็นจำนวนมากตั้งแต่ล็อตแรก ๆ และได้ฉีดวัคซีนให้ประชากรของตนเองไปเกินครึ่งแล้ว ในขณะที่ประเทศยากจนอีกมากมาย ยังคงต้องรอรับวัคซีนจากความช่วยเหลือขององค์การอนามัยโลกและวัคซีนเหลือใช้ของประเทศร่ำรวย ซ้ำยังได้น้อยไม่เพียงพอกับประชากรของตัวเอง

ทั้งนี้วัคซีนกว่า 50 % ถูกจองโดยประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งมีประชากรเพียง 16% ของประชากรทั่วโลก หลายประเทศทำการจองวัคซีนไว้มากกว่าจำนวนประชากรของตนเองเสียอีก ไม่ว่าจะเป็นแคนาดา จองวัคซีนไว้ 9.2 เท่าของประชากร สหราชอาณาจักร 6.1 เท่าของประชากร ออสเตรเลีย 4.9 เท่าของประชากร นิวซีแลนด์ 4.4 เท่าของประชากร และสหรัฐอเมริกา 4.3 เท่าของประชากร เป็นต้น

โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้วกว่า 200 ล้านโดส โดยสหรัฐฯ มีการให้วัคซีนมากที่สุด 55.2 ล้านโดส ลำดับสองได้แก่จีน 40.5 ล้านโดส และลำดับสามได้แก่ อิสราเอล ซึ่งฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 80% ของประชากร ในขณะที่ประเทศยากจนอย่างแอฟริกาซึ่งประชาชนของประเทศรายได้ต่ำ มีสัดส่วนการได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มเพียง 1.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (ข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม 2021) นอกจากนี้ ข่าวการออกมาประณามประเทศที่กักตุนวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงวัคซีนของประเทศยากจนและประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นกระจกสะท้อนความเหลื่อมล้ำของคนรวยและคนจนได้เป็นอย่างดี ซึ่งความไม่เท่าเทียมในเรื่องของวัคซีนดังกล่าว นอกจากจะทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ ได้มีหลายองค์กรออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 และความไม่เท่าเทียมของวัคซีนต่อเศรษฐกิจโลก เช่น ออกซ์แฟม องค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในสังคมโลก กล่าวว่า มหาเศรษฐีในโลกประมาณ 1,000 คน ใช้ระยะเวลาไม่ถึง 10 เดือนในการฟื้นตัวให้กลับมามีรายได้เท่าเดิมก่อนจะสูญเสียไปในช่วงโควิด-19 ในขณะที่คนยากจนอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสิบปีกว่าจะฟื้นให้กลับมาลืมตาอ้าปากได้เหมือนเดิม หรืออีโคโนมิสต์ อินเทลเลเจนซ์ ยูนิต (EIU) ก็ได้กล่าวถึงการได้รับวัคซีนว่า หากแต่ละประเทศไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ถึง 60% ของประชากร ภายในครึ่งปีหน้าอาจจะทำให้โลกสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมูลค่านับหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็ได้กล่าวถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า วิกฤตโควิด-19 จะทำให้คนจนจะยิ่งจนลงไปอีก และเหตุการณ์ความไม่สงบทางสังคมและความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์จะยิ่งยกระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอีกหลายคนก็ได้ออกมาแสดงความกังวลต่อการจำกัดการเดินทางและนโยบายการรับรองเอกสารการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นมาตรการที่หลายประเทศใช้เป็นมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด -19 ก็จะยิ่งทำให้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น

การฟื้นฟูเยียวยาเศรษฐกิจโลกให้ฟื้นคืนกลับมาให้เป็นเหมือนก่อนโควิด-19 ทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญก็คือ ต้องกระจายความเท่าเทียมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะวัคซีน ประเทศร่ำรวยต้องเลิกเห็นแก่ตัว แบ่งปันวัคซีนไปให้กับประเทศยากจน ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดผลย้อนกลับเหมือนที่หลาย ๆ ประเทศกำลังประสบอยู่ อีกทั้งรัฐบาลของทุกประเทศก็ต้องดูแลให้ทุกคนเข้าถึงวัคซีนและเงินช่วยเหลือเยียวยา ไม่เฉพาะแค่ผู้มีสิทธิพิเศษเพียงบางกลุ่มเท่านั้น

สรุป! สภาพเศรษฐกิจโลกหลังการแพร่ระบาด Covid – 19 ในปัจจุบัน

สรุป! สภาพเศรษฐกิจโลกหลังการแพร่ระบาด Covid – 19 ในปัจจุบัน

นับจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือโควิด – 19 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 2 ปีแล้วที่หลายประเทศทั่วโลกต้องรับมือกับการแพร่ระบาดด้วยการหาวิธีรักษาโรคและจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพดีที่สุดที่สามารถหาได้เพื่อฉีดให้กับประชาชนของตัวเอง

จุดเริ่มต้นของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ที่เริ่มมีการกระจายตัวของเชื้อโรคไปยังประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้คนเจ็บป่วยล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนในหลายประเทศไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเพราะต้องป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ช้าลงโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่เป็นจุดศูนย์กลางทางธุรกิจของโลก เมื่อประเทศมหาอำนาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดก็ย่อมส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนา

หลังจากการประเมินสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2019 ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีความชะลอตัวทำให้ในปี ค.ศ. 2020 ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าที่มาจากจีนและอเมริกามีราคาที่สูงขึ้นเพราะเกิดสงครามทางการค้าเกิดขึ้น ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์การถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนกระทั่งในช่วงกลางปี ค.ศ. 2020 ที่มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนที่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดและลดความรุนแรงของการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส Covid – 19 เกิดขึ้น ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและอเมริกา รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาได้เร่งฉีดวัคซีนให้กับประชนชนของตัวเองให้มากที่สุด ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ค่อย ๆ ฟื้นตัว เนื่องจากเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อและจำนวนประชากรที่ติดเชื้อน้อยลง ทำให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตตามปกติ

ต้นปี ค.ศ. 2021 – ปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจและประเทศกำลังพัฒนาที่ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความคงตัวและมีแนวโน้มว่าจะมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นในเร็ววัน แม้ว่าจะมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ทวีความรุนแรงและสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้นแต่ด้วยประสิทธิภาพของวัคซีนจึงทำให้เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไม่พุ่งขึ้นสูงเหมือนกับการแพร่ระบาดในช่วงแรก

ในส่วนของสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า – 19 เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกเพียงแต่ในช่วงแรกที่มีการแพร่ระบาดประเทศไทยสามารถคุมการติดเชื้อได้ดีและมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนบางส่วน แต่หลังจากที่เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นส่งผลให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศถดถอย

โดยสรุปแล้วในช่วงกลางปี – ปลายปี ค.ศ. 2021 นี้ สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นเพราะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก