เมื่อเศรษฐกิจโลกโดนไวรัสโจมตี

เมื่อเศรษฐกิจโลกโดนไวรัสโจมตี

ในปี 2563 “ไวรัสโควิด-19” ได้จู่โจมมนุษย์โลกให้บาดเจ็บและล้มตายแบบไม่ทันตั้งตัว นับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ครั้งที่ผ่านมา โดยมีศูนย์กลางการแพร่ระบาดอยู่ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ก่อนที่จะแพร่ไปยังทั่วโลกอย่างรวดเร็ว อุบัติภัยครั้งนี้นับเป็นหายนะของมวลมนุษยชาติครั้งสำคัญ ที่ส่งผลกระทบร้ายแรงโดยตรงต่อวิถีสังคม ความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจโลก ชนิดที่ไม่อาจกระพริบตา ในระยะแรก ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ดีกว่าหลายประเทศทั่วโลก แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไวรัสโควิด-19 ได้กลับมาเขย่าเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ตกวูบลงอีกครั้ง พร้อม ๆ กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่กำลังดิ่งลงเนื่องจากการแพร่ะระบาดของไวรัสโควิดรอบใหม่ เราจึงมีข้อมูลน่ารู้มารายงานเกี่ยวข้องกับไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและมาตรการการป้องกันของแต่ละประเทศดังนี้

โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า SARS-CoV-2 เริ่มระบาดครั้งแรกที่มณฑลหู่เป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นคว้าวิจัยและระบุว่าไวรัสนี้มีโครงสร้างทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคซาร์สและโรคมอร์สที่แพร่ระบาดใน พ.ศ. 2555 สามารถติดต่อผ่านทางละอองฝอย จากการไอจามรดกันในระยะ 1-2 เมตร ทางการสัมผัส ผ่านการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เช่น น้ำมูก น้ำลาย ทั้งโดยทางตรง หรือทางอ้อม แพร่กระจายทางอากาศ ซึ่งพบในกรณีผู้ป่วยไอมากและอยู่ในพื้นทีปิดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก การดูดเสมหะ การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น

ปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยและหลายประเทศในแถบเอเซียจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อต่ำกว่าในประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็จริง แต่ก็อยู่ในสถานการณ์การเฝ้าระวัง รณรงค์ป้องกันและต่อสู้กับการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งมีความรุนแรงและรวดเร็วกว่าในระลอกแรก โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19 ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 162,525,588 คน มียอดสะสมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 3,371,049 ราย และรักษาจนหายกลับบ้านได้แล้วจำนวน 140,387,173 คน

มีรายงานจาก Worldometer ระบุว่า ประเทศสหรัฐมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ติดอันดับ 1 ของโลก ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมสูงถึง 33,664,013 ราย จำนวนผู้เสียชีวิต 599,314 ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดในประเทศ ถึง 3,767,083 ราย ตามมาด้วยรัฐเท็กซัส มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 2,932,639 ราย และรัฐฟลอริดาอันดับ 3 จำนวนผู้ติดเชื้อ 2,286,203 ราย

ประเทศญี่ปุ่น ที่ผ่านมาปฏิเสธการประกาศภาวะฉุกเฉินด้วยเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก็ได้ประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน เพื่อคุมสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฮอกไกโด ฮิโรชิมา และโอกายามะ หลังจากพบจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 207,007 ราย ติดเชื้อรายวันสูงกว่า 3,000 ราย

สำหรับไต้หวันโมเดล ได้รับเสียงชื่นชมว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดอย่างได้ผลด้วยมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเป็นการยอมเจ็บแต่จบ และอยู่ระหว่างแผนฟื้นฟูวิกฤตเศรษฐกิจในระยะแรก

ส่วนที่เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อรายวันสูงขึ้นในช่วงต้นปี 2564 เกินกว่า 1,000 ราย จึงใช้มาตรการเข้มงวดโดยประกาศห้ามรวมกลุ่มกันเกินกว่า 5 คน และสั่งปิดสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งเพื่อควบคุมความเสียหายต่อเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่

ในประเทศมาเลเซียซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มขั้นในช่วงปลายปี 2563 รัฐบาลมาเลเซียใช้มาตรการล็อกดาวน์บางส่วน ซึ่งทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของมาเลเซียไม่ได้รับความเสียหายมากนัก เพราะการใช้มาตรการเข้มงวดการล็อกดาวน์ จะส่งผลให้การบริโภคของภาคเอกชนฟื้นตัวเร็วขึ้น และพร้อมรับมือกับผลกระทบในระลอกที่ 3 นี้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ (CEBR) ประจำปี 2021 ระบุว่า การที่เศรษฐกิจในประเทศตะวันตกได้รับผลกระทบยาวนานจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระหว่างปี 2021-2025 ประเทศ จีนซึ่งสามารถปรับตัวโดยควบคุมการระบาดแพร่ระบาดของไวรัสได้ดีกว่า จะมีทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากขึ้นกว่า 5.7% ต่อปี และอาจจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาได้ในปี 2028 ด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 จะยืดเยื้อหรือยาวนาน ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกสักเพียงใด ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงพลังสร้างสรรค์และจิตวิญญาณความเป็นนักสู้ที่แฝงอยู่ใน DNA ของมนุษย์ทุกคน ที่มีจุดหมายเดียวกันในการฝ่าฟันวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปให้ได้ในที่สุด

สเปอร์ สนใจ ! ควิชา ควารัตสเคเลีย ดีกรีดาวรุ่งยอดเยี่ยมลีกหมีขาว พร้อมทุ่มทุนซื้อตัว

สเปอร์ สนใจ ควิชา ควารัตสเคเลีย

ควิชา ควารัตสเคเลีย กองกลางชื่อเรียกยากของทีม รูบิน คาซาน ได้กลายเป็นอีก 1 นักเตะฝีเท้าดีที่ทางสโมสร ท็อตแนม ออทสเปอร์ส กำลังให้ความสนใจอยู่เช่นกันในตอนนี้

Sky Italia สื่อกีฬาของประเทศอิตาลีได้กล่าวว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารของ สเปอร์ส อย่าง ฟาบิโอ ปาราติซี่ เป็นแฟนตัวยงของนักเตะดาวรุ่งแห่งทีมชาติจอร์เจียรายนี้ และเขาเองก็พร้อมที่จะเซ็นสัญญากับนักเตะกองกลางตัวรุกที่มีฝีเท้าน่าตื่นเต้นรายนี้มาเป็นตัวทำเกมรุกรายใหม่ของ สเปอร์ส และต้องการให้ลงเล่นเพื่อทำผลงาน โปรแกรมบอลพรุ่งนี้ และโปรแกรมอื่นๆให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด

ควิชา ควารัตสเคเลีย เพิ่งจะคว้ารางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของรัสเซียนพรีเมียร์ลีกมาครองเมื่อฤดูกาลที่แล้ว หลังจากที่เขาทั้งยิงทั้งแอสซิสต์ และยังทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมแบบไม่น่าเชื่อจนทำให้ชื่อเสียงของมิดฟิลด์ตัวรุกรายนี้ ขจรไปไกลจนทีมชั้นนำหลายแห่งต่างกำลังติดต่อกับทางเอเย่นต์ของนักเตะรายนี้ และติดต่อมายัง รูบิน เพื่อที่จะได้ขอซื้อตัว ควารัตสเคเลีย ไปเสริมแกร่งด้วย

แม้แต่กับ เอซีมิลาน ก็กำลังให้ความสนใจที่จะเซ็นสัญญากับเขาเช่นกัน แม้ว่าราคาของเพลย์เมกเกอร์รายนี้ ทางฝั่งของ รูบิน จะตั้งเอาไว้แพงเกินไป ซึ่งมันพิสูจน์ว่าทางมิลาน ไม่น่าจะมีเงินทุนมากมายจนกระชากนักเตะรายนี้ไปเสริมทัพได้

สเปอร์ส เองก็จะต้องเสนอเงินมากกว่า 20 ล้านยูโรเพื่อนำตัวของดาวรุ่งรายนี้มาจาก รูบิน คาซาน และอาจจะมีการส่งตัวของนักเตะบางรายไปแลกตัวด้วยเช่นกัน

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก ปี 2021 บอกถึงอะไรได้บ้าง

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก ปี 2021 บอกถึงอะไรได้บ้าง

เมื่อช่วงสิ้นปี 2020 ได้มีการเผยถึงเศรษฐกิจโลกของปี 2021 จากนักลงทุนที่มีชื่อเสียง รวมไปถึงนักวิเคราะห์ด้านการเงินที่มองว่าปัญหาของ Covid-19 ยังคงทำให้เศรษฐกิจของโลกตกต่ำได้อย่างต่อเนื่องและภายในช่วงกลางปี 2021 ปัญหานี้ก็อาจจะยังไม่ลดลง ที่สำคัญคือผู้นำเศรษฐกิจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาก็อาจจะต้องเจอวิกฤตหนักด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีเลยทีเดียว

การวิเคราะห์เรื่องเศรษฐกิจโลกภายในช่วงปี 2021 เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงท้ายปี 2020 ที่ดัชนีหุ้นของสหรัฐฯ ตกลงอย่างรุนแรงและตกต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่มาพุ่งขึ้นสูงได้ในช่วงกำลังจะข้ามปี ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยจากสถานการณ์ Covid-19 มาอย่างต่อเนื่องและทำให้เกิดผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศโซนยุโรปที่ถือว่าเป็นกลุ่มอันดับต้น ๆ ของโลกในด้านเศรษฐกิจ ต้องเผชิญปัญหานี้อย่างหนักหน่วง เพราะมีผู้ติดเชื้อ Covid-19 จำนวนกว่าแสนคนต่อวันและมีผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง

ภาพรวมจึงออกมาค่อนข้างชัดเจนว่าปี 2021 ในช่วงครึ่งปีแรก เศรษฐกิจจะยังคงทรงตัวและอาจจะลดต่ำลงในบางจังหวะ เพราะเชื่อว่าปัญหา Covid-19 จะยังคงไม่หายไปแน่นอน จุดนี้เองจึงทำให้เกิดเป็นการผลักดันโครงการ Belt Road Initiative ที่ประเทศจีนต้องการให้ทุกประเทศในเอเชียกลายเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่ง เพื่อขึ้นมาแทนที่เหล่ามหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกที่กำลังประสบปัญหาภายในอย่างหนักหน่วง จนทำให้เศรษฐกิจลดต่ำกว่ามาตรฐานปกติ โดยเป็นการเร่ง 15 ประเทศภายในโซนเอเชียที่ถือว่าเป็นประเทศสำคัญด้านอู่ข้าวอู่น้ำและการผลิตต่าง ๆ ของเอเชียเข้ามาร่วมมือกัน แล้วดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนภายใน 15 ประเทศนี้กันมากขึ้น

สำหรับประเทศจีนสามารถทำให้คนทั่วโลกได้เห็นถึงการเป็นเจ้าแห่งเศรษฐกิจโลก ด้วยการยอมปรับกลยุทธ์ทุกรูปแบบภายในประเทศของตัวเอง เพื่อทำให้เศรษฐกิจโดยรวมยังสามารถเป็นไปได้ด้วยดี โดยในช่วงปี 2019 ที่ประเทศจีนจะต้องปิดประเทศ เนื่องมาจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 แต่ก็ยังคงมีค่า GDP เติบโตได้ถึง 2% และในปี 2020 ก็ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมคาดการณ์ปี 2021 ในช่วงครึ่งปีแรกอาจเติบโตได้มากถึง 8.4 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

เมื่อเข้าสู่ปี 2021 เศรษฐกิจโลกโดยรวมเริ่มขยับตัวมากขึ้น หลังจาก Covid-19 เริ่มมีความหวังในเรื่องของวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต่างออกมาคาดการณ์เรื่องเศรษฐกิจโดยรวมที่แลดูจะฟื้นตัวได้ดี แต่ก็ยังคงต้องระวังในเรื่องของปัญหาการระบาด Covid-19 ระลอกใหม่ที่ยังคงสร้างแนวโน้มที่ไม่ดีในเรื่องของเศรษฐกิจได้มากพอสมควร แต่ทั้งนี้ถ้าประเทศไทยสามารถปรับตัวให้เข้ากับปัญหาได้แบบเดียวกับประเทศจีน ค่า GDP เศรษฐกิจของไทยน่าจะยังคงทรงตัว ไม่ลดต่ำลงกว่านี้ และอาจจะขยับขึ้นอีกด้วย

วัคซีนโควิด-19 จะสามารถฉุดเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้นจริงหรือ

วัคซีนโควิด-19 จะสามารถฉุดเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้นจริงหรือ

วัคซีนโควิด-19 กำลังเป็นที่สนใจในระดับโลก เพราะเป็นความหวังในการปกป้องและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรโลกในการมีชีวิตรอดปลอดภัยจากการโรคไวรัสโควิด-19 ล่าสุดหน่วยงานระดับโลกอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ ได้ออกมาวิเคราะห์แนวทางเศรษฐกิจโลกว่า จะเติบโต 5.5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2564 หากเป็นไปตามความคาดหมายว่านานาประเทศทั่วโลกสามารถผลักดันให้วัคซีนโควิด-19 เข้าถึงผู้คนในประเทศของตนเองให้มากที่สุด แต่ทว่าสถานการณ์การกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรน่าอาจเป็นตัวแปรที่ส่งผลกระทบกับต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกได้เช่นกัน ดังนั้นการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 จะช่วยฉุดเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้นจริงหรือไม่ เรามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้ได้ทราบกัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไอเอ็มเอฟ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตการเงินโลกในปี ค.ศ. 2010 และผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาพบว่ามีการขยายตัวสูงถึง 5.5 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ทิศทางเศรษฐกิจในปี 2022 จะมีการขยายตัวอยู่ที่ 4.2 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่ากลายพันธุ์ เป็นตัวแปรสำคัญ

เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทั่วโลกมีตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวนสูงถึง 105,891,238 คน ตัวเลขความสูญเสีย 2,307,415 คน จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ +480,935 คน และมีตัวเลขผู้รักษาหายอยู่ที่ 77,656,205 คน ซึ่งเป็นแรงผลักดันอันแรงกล้าให้บรรดานักวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ชั้นนำทั่วโลกต่างเร่งค้นคว้าและพัฒนากระบวนการทดลองวัคซีนป้องกันโควิด-19 จนกระทั่งเป็นผลสำเร็จมีวัคซีนออกมาหลายชุดและหลายประเทศได้นำร่องโดยการเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชากรของตนเองแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฉีดมากที่สุดประมาณ 28 ล้านโดส จากจำนวนประชากร 328 ล้านคน ซึ่งพบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อลดภายหลังการฉีดวัคซีนสหรัฐ ตามมาด้วยประเทศจีนจำนวน 23 ล้านโดส สหราชอาณาจักร 9 ล้านโดส จากจำนวนประชากร 66.65 ล้านคน ส่วนอิสราเอลเป็นประเทศที่ไม่ใหญ่แต่ฉีดต่อประชากร 100 คนสูงที่สุด โดยฉีดไปแล้ว 4.66 ล้านเข็ม จากจำนวนประชากร 8.88 ล้านคน ซึ่งข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่ามีการฉีดไปแล้วกว่า 100 ล้านโดส หรือ ประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตามข้อมูลผลข้างเคียง เช่น อาการปวด หรือบวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ตลอดจนอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ด้วย

สำหรับประเทศไทย มีเป้าหมายเช่นเดียวกับนานาประเทศ โดยจุดประสงค์หลักของการฉีดวัคซีนก็เพื่อหวังผลในการลดการแพร่ระบาด อย่างรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯ

อย่างไรก็ตามจากรายงานของ ไอเอ็มเอฟ ระบุว่ามาตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 ควบคู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจมวลรวมหรือจีดีพีของประเทศสหรัฐฯ ภายในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีอัตราการขยายตัวราว 5.1 เปอร์เซนต์ ส่วนประเทศจีนภายหลังการรับวัคซีนและมีการคลี่คลายทางด้านเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราการขยายตัวจะอยู่ที่ 8.1 เปอร์เซนต์ภายในปีนี้ ดังนั้นเมื่อมองไปในแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ จึงทำให้เชื่อได้ว่าคำตอบเป็นไปในแนวโน้มที่ผ่อนคลายความตึงเครียดลง แต่ในระยะยาว เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าการใช้วัคซีนโควิด-19 จะช่วยฉุดให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นจริงหรือไม่

ติดตามเศรษฐกิจโลก โกโก้ พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง

ติดตามเศรษฐกิจโลก โกโก้ พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง

โกโก้ พืชสารพัดประโยชน์ที่กำลังจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย เป็นกระแสข่าวที่ได้รับความสนใอย่างมากจากบรรดาเกษตรกรและกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยคุณประโยชน์และมูลค่าการตลาดที่ดึงดูดใจ ประกอบกับหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเกษตรกรทำการผลิตเพื่อส่งออกในอุตสาหกรรมช็อกโกแลต ตลอดจนแผนการผลิตโกโก้เพื่อทดแทนการทำสวนยางพาราที่ให้น้ำยางน้อย เมื่อพิจารณาความต้องการผลผลิตโกโก้ในระดับเศรษฐกิจโลก เห็นว่ามีความต้องการสูงขึ้นทั้งในตลาดต่างประเทศและในประเทศ แต่จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกโกโก้อยู่ทั่วประเทศ จำนวน 5,464.39 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เก็บเกี่ยวแล้วจำนวน 4,090.66 ไร่และอยู่ระหว่างการเพาะปลูกอีก 1,373.73 ไร่ โดยพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 3,957.59 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือในแถบจังหวัดเชียงราย ลำปาง น่าน และ จังหวัดตาก ส่วนพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกจำนวน 586.48 ไร่ ส่วนมากอยู่ในจังหวัดจันทบุรี

ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางแผนศึกษาข้อมูลด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เหมาะสมทดลองเพาะปลูกโกโก้แซมในพื้นที่สวนยางที่ให้ปริมาณน้ำยางน้อยเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ประสบปัญหายางพาราราคาตกต่ำ ซึ่งนักวิชาการเกษตรมองว่าการปลูกโกโก้สามารถทำได้จริงภายใต้การวางแผนเพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยมีแผนการตลาดรองรับเป้าหมายในเชิงอุตสาหกรรมแปรรูปโกโก้ซึ่งเน้นที่ปริมาณและคุณภาพ ข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตช็อกโกแลต ระบุว่าคนไทยมีความต้องการบริโภคช็อคโกแลตเฉลี่ยอยู่ที่ 120 กรัมต่อคนต่อปี ซึ่งเมื่อเทียบกับชาวเบลเยียมที่บริโภคช็อกโกแลต 8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี จึงนับได้ว่าโอกาสขยายตัวทางการตลาดและการเพาะปลูกมีแนวโน้มที่สูงขึ้น

ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยระบุว่า แม้อาเซียนจะไม่ใช่ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก แต่ด้วยกำลังการผลิตจากหลายประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปฟินส์ และเวียดนาม โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 72% ทำให้โกโก้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่งของอาเซียนไปโดยปริยาย

จากสภาพเศรษฐกิจโลก แนวโน้มการเติบโตความต้องการโกโก้ในปี 2563 ตามการคาดการณ์ของ International Cocoa Organization พบว่ามีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าปริมาณความต้องการโกโก้ทั่วโลกจะอยู่ที่ 44.7 ล้านตัน โดยผลจากการประเมินสภาวะตลาดทั้งในประเทศและตลาดโลก พบว่าความต้องการผลผลิตโกโก้เพิ่มขึ้น โดยมีการนำเข้าโกโก้มูลค่า 1,761 ล้านบาท ในปี 2560 อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีการปรับเปลี่ยนจำนวนการผลิตเหลือ 2.9 แสนตัน พร้อมทั้งปรับขึ้นภาษีส่งออกเมล็ดโกโก้อีก 15% โดยมุ่งเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าสูง และส่งเสริมอุตสาหกรรมช็อกโกแลตมากขึ้น

สำหรับประเทศไทย หากมีการสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตอย่างจริงจัง รัฐบาลจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการโกโก้ แห่งชาติ (Thailand Cocoa Board) เพื่อรวบรวมข้อมูลโกโก้ทั้งหมดให้เป็นระบบ สามารถควบคุมมาตรฐานได้แก่ การคัดเลือกสายพันธุ์ การควบคุมคุณภาพของผลผลิต พร้อมทั้งจัดทำแผนโปรโมททั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างครบวงจร เช่น เทศกาลช็อกโกแลตแบรนด์ไทย เป็นต้น

แม้ว่าโกโก้โกโก้จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง ส่งผลให้ราคารับซื้อโกโก้ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า โกโก้สามารถเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตของไทยได้ แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะสามารถผลิตได้เพียงไม่กี่ร้อยตันเท่านั้น แต่ในอนาคตการปลูกโกโก้จะเริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นในพื้นที่เพาะปลูกทั้ง 47 จังหวัดทั่วประเทศ

โควิด-19 ตัวการร้ายทำลายเศรษฐกิจโลกจริงไหม

โควิด-19 ตัวการร้ายทำลายเศรษฐกิจโลกจริงไหม

ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2021 อย่างเต็มตัวแล้ว เชื่อว่าหลายคนรู้สึกว่า 2020 เป็นปีที่หนักหนามาก จากผลกระทบวิกฤติหลายอย่างตั้งแต่ต้นปี ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น PM2.5 แม้กระทั่งโควิด-19 ที่หลายคนคิดว่าผ่านไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น มันไม่ได้จบไปอย่างที่หลายคนคิด เพราะเมื่อต้นปีเป็นเพียงวิกฤติระลอกแรกเท่านั้น และตอนนี้ประเทศไทยเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤติโควิด-19 ระลอก 2 และยังไม่มีใครรู้ได้ว่า วิกฤตินี้จะจบลงเมื่อไหร่ ทุกคนต่างภาวนาให้วิกฤติโควิดนี้ผ่านไปให้เร็วที่สุด

โควิด-19 ทำลายเศรษฐกิจโลกจริงไหม?
โควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกอย่างต่อเนื่อง เหล่าประเทศที่เคยสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ในช่วงแรก ณ เวลานี้กลับมีการระบาดของโรคกลับมาเป็นระลอกที่ 2 ในขณะที่บางประเทศยังไม่จบระลอกแรก อย่างประเทศสหรัฐอเมริกายังคงเป็นอันดับหนึ่งของโลก กับจำนวนสถิติผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 19 ล้านกว่าคน และจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากถึงวันละ 160,000 กว่าคน และจำนวนผู้เสียชีวิตยอดรวมสะสม 330,000 กว่าคน รองมาคือประเทศอินเดีย บราซิล รัสเซีย และฝรั่งเศส รวมจำนวนผู้ติดเชื้อยอดสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 80 กว่าล้านคน และเสียชีวิตยอดรวมสะสมอยู่ที่ 1.7 กว่าล้านคน (ข้อมูลอัปเดตวันที่ 27 ธ.ค. 63) จากตัวเลขที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราเห็นว่า โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบสูง จากที่ทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ต้องหยุดชะงักแบบเฉียบพลันเลยก็ว่าได้

โควิด-19 ทำลายเศรษฐกิจโลกอย่างไร

ทั่วโลกหยุดการเดินทางเพื่อหยุดการแพร่ระบาด
ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก มีการกักตัวไม่ให้มีการเดินทางเข้า-ออก นอกประเทศ ทุกสายการบินงดไฟลท์บิน เครื่องบินทุกสายการบินจอดอยู่เต็มลานจอด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งแบบข้ามประเทศ

เศรษฐกิจระดับประเทศหยุดชะงักเพราะการล็อกดาวน์
ก่อนหน้าที่จะค้นพบวัคซีน หลายประเทศใช้ยาแรง คือการประกาศล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะทำให้สามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่เศรษฐกิจภายในประเทศกลับเสียหายหนัก ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรมเจ็บหนัก รัฐอุ้มทุกภาคส่วนไม่ไหว ทำให้หลายบริษัทปิดตัวลงเพราะขาดรายได้มาจุนเจือ แรงงานตกงานกันทั่วหน้า นักท่องเที่ยวไม่เดินทาง รายได้เข้าประเทศไม่มี ประเทศไหนที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ปีนี้นับว่าเป็นปีที่อ่วมกันถ้วนหน้า

ไม่มีกำหนดเวลาวันสิ้นสุดวิกฤต
ต่อให้สามารถผลิตวัคซีนรักษาโรคระบาดนี้ได้ แต่ก็ยังไม่มีใครที่สามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าวิกฤตินี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ประเทศที่เคยเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจตอนนี้ได้เปลี่ยนไป ณ เวลานี้ไม่ใช่คนที่มีน้ำมันมากหรือมีการค้าขายระหว่างประเทศสูง หรือมีขีปนาวุธที่ทรงอานุภาพในการทำลายล้างอีกต่อไป สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องมือสำคัญในการกุมโลกไว้ในมืออีกแล้วในยามนี้ ใครที่ผลิตวัคซีนรักษาโรคได้ก่อน ชาตินั้นต่างหากที่กำลังจะกุมอำนาจโลกไว้ในมือ เพราะทุกประเทศต่างก็ต้องการวัคซีนมาป้องกัน

ตราบใดที่โควิด-19 ยังคงระบาดอยู่ และยังไม่มีวัคซีนที่เพียงพอในการรักษาอย่างทั่วถึง เศรษฐกิจก็คงไม่ฟื้นตัวกลับมาดีได้ในเร็ววันนี้แน่ เพราะการที่พลเมืองของประเทศที่ถือเป็นฐานกำลังหลักในการผลิตและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงหวาดหวั่นกับโรคระบาด ธุรกิจเดินหน้าต่อไปไม่ได้เพราะขาดเม็ดเงิน สภาวะแบบนี้มีแต่จะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น คนรวยจะรวยล้นฟ้า คนจนจะจนแสนสาหัส หากยังไม่มีวิธีการรับมือกับโรคระบาดนี้ เศรษฐกิจโลกจะล่มสลายและต้องใช้เวลาฟื้นตัวอีกนานหลายปี

เศรษฐกิจโลกหลังช่วงไวรัสโควิดระบาดจะเป็นอย่างไร

เศรษฐกิจโลกหลังช่วงไวรัสโควิดระบาดจะเป็นอย่างไร

เป็นเวลาประมาณ 10 เดือนแล้ว นับจากไวรัสโควิดระบาด เริ่มจากประเทศจีนจนมาถึงแถบยุโรปและเอเชีย จนประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมหลายสิบล้านคน และต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่องมารายเดือน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคนี้

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินการลงทุนคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปหลังจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะไวรัสโควิดระบาด โดยจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีมูลค่าความเสียหายทั่วโลกประมาณเกือบ 1,000 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าสูงมากกว่าการนำเอาตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างญี่ปุ่นและเยอรมนีมารวมกันเสียอีก

ภาวะเศรษฐกิจโลกหลังจากไวรัสโควิดระบาด มีแนวโน้มเป็นไปได้ 5 รูปแบบ ดังนี้

1.แบบตัววี
วีเชฟ หรือ ตัววี หมายถึงเศรษฐกิจที่ทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วดังที่เราเห็นในช่วงไวรัสโควิดระบาดระยะแรก ๆ แต่หลังจากนั้นจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วใน 1-2 ปี โดยเฉพาะกับกลุ่มอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น อาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค สินค้าเกษตรกรรม

2.แบบเครื่องหมายถูก
เครื่องหมายถูก จะมีลักษณะเทลงในช่วงแรก หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เอียงขึ้น หมายถึงเศรษฐกิจโลกที่ทรุดตัวลงในช่วงปีแรก แต่หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากมีการคิดค้นวัคซีนได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าประเทศที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้เร็วลักษณะคล้ายเครื่องหมายถูกนี้ คือ ประเทศที่ผลิตวัคซีนได้เป็นอันดับแรก ๆ ของโลก

3.แบบตัวยู
หมายถึงภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวยาวนานและต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ คาดการณ์กันว่าจะเป็นประเทศส่วนใหญ่ โดยเฉพาะประเทศที่มีภาวะเศรษฐกิจภายในขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและการส่งออก อันส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นทีละน้อย ทั้งนี้ ยังเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ยังไม่กล้าเสี่ยงใช้เงินมากนักด้วย

4.แบบ W
ตัวดับเบิ้ลยูเป็นภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวเร็ว แต่ก็มีการหดตัวอีกครั้งได้ หากมีการระบาดของไวรัสโควิดรอบที่ 2 หรือ 3 ซึ่งจะเกิดขึ้นแน่นอนหากไม่สามารถที่จะควบคุมภาวะสุขภาพอนามัยป้องกันไวรัส covid-19 ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจ เช่น จีนและสหรัฐอเมริกา

5.แบบตัวแอล
เป็นภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้าและใช้เวลายาวนานที่สุด กรณีที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกยังไม่สามารถควบคุมภาวะควบคุมโรคได้อย่างราบคาบ จะทำให้เกิดการแพร่กระจายเป็นระยะ ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของโลกนั้นฟื้นตัวได้ยาก อาจใช้เวลายาวนานนับปีเลยทีเดียว

จะเห็นได้ว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกนั้นจะฟื้นตัวได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับการควบคุมไวรัสโควิค ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันดูแลตัวเองและปฏิบัติตามกฎของทางการเมื่อต้องอยู่ในที่สาธารณะ จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีโอกาสเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น

ไวรัสโควิด-19 ระบาด ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างไร

ไวรัสโควิด-19 ระบาด ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างไร

ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา มีวิกฤตการณ์ไวรัส ระบาดทั่วโลก ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโลก เพราะปัจจุบันระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าต่าง ๆ ล้วนเชื่อมโยงกัน ทำให้หลายประเทศที่ต้องพึ่งพาการค้าขายกับต่างชาติ และการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงประเทศไทยด้วย

เมื่อไวรัสโควิดแพร่กระจายผ่านอากาศได้ง่าย จึงมีการล็อคดาวน์ประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่มหาอำนาจทุนนิยมใหม่อย่างประเทศจีน ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาและทำเป็นแนวทางเดียวกันทั่วโลก จนปัจจุบันแม้จะอยู่ในระหว่างการคิดค้นวัคซีนป้องกันไวรัสชนิดนี้ และคลายมาตรการล็อคดาวน์ลงบ้างแล้ว แต่ก็ยังหวั่นเกรงว่าอาจเกิดวิกฤตซ้ำอีกระลอกได้ ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขการผันผวนในทิศทางขาลงของตลาดหุ้นทั้งในไทยและสหรัฐอเมริกา ที่ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ

ในด้านการท่องเที่ยว เรากำลังเข้าสู่ช่วงปลายปี ที่โดยปกติจะเป็นไฮซีซั่นที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมไปพักผ่อนในประเทศต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งหลายจังหวัดในประเทศไทย เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้ตัวเลขการจองห้องพักในระยะนี้ลดลงไปมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แม้แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยเอง ก็ยังต้องรัดเข็มขัด เนื่องจากมีตัวเลขผู้ตกงานและปรับลดค่าตอบแทนเพื่อสภาพคล่องของนายจ้างมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขด้านการท่องเที่ยวของประเทศอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

ภาวะไวรัสโควิดระบาดทำให้เศรษฐกิจของไทยตลอดทั้งปีมีการชะลอตัว ตัวเลขภาวะหนี้สินของประชากรรายบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงทำให้สภาพคล่องในการซื้อขายสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ คอนโดมีเนียม บ้าน ที่ดิน ทองคำ ฯลฯ อยู่ในภาวะซบเซากว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ประเมินไว้เมื่อต้นปี

ผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนทั้งในไทยและต่างประเทศ จึงต้องติดตามข่าวสารเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงนโยบายการเงินการลงทุนอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าโดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ไต่ระดับฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลกแบบช้า ๆ เป็นไปในลักษณะของเครื่องหมายถูก โดยปัจจัยเกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ ผลลัพธ์ของการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด การปรับตัวของผู้ประกอบการระดับเล็กถึงใหญ่เพื่อเข้าสู่ภาวะ New Normal การพัฒนาตนเองของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและผู้ชำนาญในแต่ละสาขาที่จะต้องตอบโจทย์การจ้างงานทั้งในและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น รวมถึงจำนวนเม็ดเงินที่รัฐบาลจะสามารถจัดสรรจากภาษีประชาชนเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกล้วนได้รับผลกระทบโดยตรงจากไวรัส โควิด-19 ระบาด ซึ่งทุกฝ่ายต่างคาดหวังว่าเมื่อมีการค้นพบวัคซีนในการรับมือกับไวรัสชนิดนี้ จะทำให้เศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วอีกครั้ง เพื่อประชาชนและผู้ประกอบการในทุกภูมิภาคจะได้กลับมาลืมตาอ้าปากได้ต่อไป

วิธีการลงทุน ที่เหมาะกับคนทำงานออฟฟิศ

วิธีการลงทุน ที่เหมาะกับคนทำงานออฟฟิศ

การลงทุนเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของเงินออมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เพิ่มสูงขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนที่มาในรูปแบบของเงินปันผล ดอกเบี้ยเงินสด หรือมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะยาว ซึ่งดีต่อการสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน หรือใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพส่วนตัวได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปกู้ยืมเป็นจำนวนมาก เรามาดูกันว่าคนทำงานออฟฟิศเหมาะกับการลงทุนแบบใดบ้าง

  1. ฝากธนาคารแบบประจำ

การฝากเงินในธนาคารมีความเสี่ยงต่ำและอัตราดอกเบี้ยแน่นอน เหมาะกับคนที่มีพื้นฐานการลงทุนน้อย ไม่อยากเสี่ยงต่อการสูญเงินต้น โดยแนะนำให้ฝากประจำแทนฝากออมทรัพย์ เพราะจะได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า โดยมีระยะเวลาขั้นต่ำในการถอน คือ ต้องฝากต่อเนื่องนาน 1-2 ปีขึ้นไปจึงจะถอนได้ จึงเป็นการบังคับออมอย่างมีวินัยไปโดยปริยาย โดยสามารถเลือกฝากเงินสดที่ธนาคาร หรือตัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งเป็นประจำทุกเดือนช่วงเงินเดือนออกก็ได้

  1. ซื้อกองทุน

พนักงานออฟฟิศที่ต้องการเพิ่มจำนวนเงินเก็บให้มากขึ้น แต่อยากลงทุนด้วยความเสี่ยงต่ำ อีกทั้งไม่มีเวลาศึกษาหุ้นรายตัว แนะนำให้ซื้อกองทุนเก็บสะสมไปเรื่อย ๆ โดยเลือกกองทุนที่บริหารเพื่อผลตอบแทนแบบ passive คืออ้างอิงการเติบโตของตลาดหลักทรัพย์ จะมีเงินปันผลกลับมาสู่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นระยะ การลงทุนผ่านกองทุนรวมนี้ไม่ต้องติดตามราคาหุ้นเอง เพราะมีผู้เชี่ยวชาญกองทุนดูแลให้แล้ว

  1. กองทุนการออมแห่งชาติ

กอช. เป็นกองทุนที่รัฐบาลตั้งขึ้น มีความเสี่ยงต่ำและมีการมอบเงินสมทบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดด้วย ถือได้ว่าเป็นวิธีเพิ่มเงินออมในระยะยาว ไม่มีขั้นต่ำในการฝาก สามารถเบิกใช้ได้เมื่ออายุครบ 55 ปี หากต้องการสร้างความมั่งคั่งในวัยเกษียณ แนะนำทำวิธีนี้ควบคู่กับการลงทุนแบบอื่น ก็จะช่วยให้เพิ่มเงินเก็บได้อย่างมาก ทั้งนี้ สามารถฝากเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทยหรือหักผ่านระบบ iBanking ก็ได้เช่นเดียวกัน

  1. เล่นหุ้นพื้นฐานดี

การเล่นหุ้นมีหลายแบบทั้งแบบ Day Trade คือซื้อขายรายวันและซื้อหุ้นพื้นฐานดี แต่สำหรับคนทำงานออฟฟิศแล้ว ขอแนะนำให้ซื้อหุ้นพื้นฐานดี คือ บริษัทมีความมั่งคง มีตัวเลขบัญชีในงบการเงินที่โปร่งใส มีความสม่ำเสมอและเติบโตในการทำกำไร ก็จะได้รับปันผลที่สูงเป็นสิ่งตอบแทน หรือรอจังหวะขายในช่วงที่หุ้นมีราคาแพงขึ้นก็ได้ การเล่นหุ้นแบบนี้จะไม่รบกวนเวลาทำงานด้วย ซึ่งต่างจากแบบ Day Trade ที่ต้องเฝ้าราคาหุ้นตลอดทั้งวัน ทำให้เสียสมาธิ รบกวนเวลาทำงานประจำ แน่นอนว่านี่ไม่ได้รวมถึงการลงทุนในพวกเว็บพนันออนไลน์ FIFA55 UFA หรือแม้แต่ HERO88 การเล่นพนันไม่ได้รวมเป็นการลงทุน

การลงทุนที่เหมาะกับพนักงานออฟฟิศมีหลายช่องทางให้เลือกตามความเหมาะสมกับแผนการเงินส่วนบุคคล เพียงเลือกชนิดที่สนใจ แล้วศึกษาข้อมูลให้ลึกซึ้ง ก็สามารถสร้างผลประโยชน์ตอบแทนในระยะยาว เป็นการเพิ่มมูลค่าการออมได้หลายเท่าตัวในอนาคต โดยไม่รบกวนต่อการทำงานในปัจจุบันด้วย

สรุปเศรษฐกิจสำคัญ หลังไวรัสโควิดระบาด

สรุปเศรษฐกิจสำคัญหลังไวรัสโควิดระบาด

หากได้ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจระดับมหภาค จะพบว่ามีการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกหลังภาวะไวรัสโควิดระบาดในด้านที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากว่ามีปัจจัยที่กระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินทั่วโลกหลายประการ จะมีเหตุผลใดบ้างที่เป็นเช่นนั้น เราได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกันไว้ที่นี่แล้ว

ด้านการท่องเที่ยว

สถานการณ์ไวรัสโควิดทำให้กระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างหนัก การเคลื่อนย้ายผู้คนระหว่างเขตแดนต้องเป็นไปตามมาตรการล็อกดาวน์และการผ่อนปรนตามระยะ ยังต้องระวังการเดินทางและการปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ที่ต้องมีระยะห่าง หรือ Social Distance จึงทำให้หลายประเทศที่เคยมีรายได้จากการท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง รวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งนี้ยังส่งผลโดยตรงให้ธุรกิจสายการบิน หรืออากาศยานการท่องเที่ยวจำนวนมากต้องปรับลดพนักงาน หรือยุบสายการบิน เพราะไม่สามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในช่วงเวลานี้

ภาวะเงินฝืด

ปัจจุบันมีบริษัทปิดตัวลงในทุกประเภทอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าแฟชั่น ฯลฯ มีการควบรวมกิจการและมีการลดปลดพนักงานทุกระดับชั้น จึงมีอัตราการว่างงานสูงขึ้นหลายเท่าตัว คนทั่วโลกจึงอยู่ในภาวะรัดเข็มขัดระวังการใช้จ่ายอย่างมาก มีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยลดลง ทำให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งมีการประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะมีการหดตัวมากประมาณ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าช่วงเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ด้วย

สงครามการค้าระหว่างอเมริกาและจีน

ปัญหานี้มีมาก่อนเหตุการณ์โควิดระบาดแล้ว มีการแบนสินค้าและกำหนดมาตรการควบคุมสินค้านำเข้าส่งออกระหว่างกัน และกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะสองชาตินี้เป็นมหาอำนาจในโลกยุค 5G ที่มีความเชื่อมโยงในระดับมหภาคกับประเทศอื่นในทุกภูมิภาค ซึ่งในช่วงเวลานี้ปัญหานี้ก็ยังคงอยู่ ดังนั้นนักธุรกิจทุกคนจึงต้องคอยสังเกตสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรายวัน และติดตามนโยบายการค้าระหว่างสองชาตินี้ต่อไป

การเป็นหนี้ครัวเรือนและการปล่อยกู้ที่ยากขึ้น

ประชากรทั่วโลกต่างต้องการกู้จากสถาบันการเงินในประเทศตัวเองแบบดอกเบี้ยต่ำ แต่ขณะเดียวกันก็ยังขาดสภาพคล่องและมีความไม่แน่นอนทางด้านอาชีพ จึงทำให้ธนาคารปล่อยกู้ยากขึ้น กระแสเงินหมุนเวียนในระบบจึงมีภาวะฝืดเคือง นอกจากนี้ รัฐบาลของแต่ละชาติจำเป็นต้องอัดฉีดเงินงบประมาณเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม จึงเป็นภาวะที่ค่อนข้างยากลำบาก ทั้งผู้ที่ต้องการลงทุนสิ่งใหม่และนักธุรกิจเดิมที่ต้องประคับประคองธุรกิจเดิมให้เดินหน้าได้

การวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกจึงเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีความฝืดเคืองอีกสักระยะหนึ่ง เราทุกคนจึงต้องพยายามจัดสรรค่าใช้จ่ายให้รัดกุมและลดความเสี่ยงในการลงทุนที่ไม่แน่นอนออกไป