เศรษฐกิจโลกหลังโควิดจะเป็นยังไง รู้ไว้เพื่อเตรียมปรับตัว

หลังวิกฤตการณ์โรคระบาดที่รุนแรงอย่างโควิด หลายคนคิดว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาจะดีดตัวขึ้น และทำให้ตลาดสดใสขึ้นอย่างชัดเจน แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ตลาดเศรษฐกิจโลกไม่สดใสอย่างที่คาด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต้องเตรียมการเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ ซึ่งสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ได้ถูกรวบรวมไว้ในบทความดังนี้

  1. เงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยเพิ่ม

หลาย ๆ คนคงจะเห็นรายงานเรื่องธนาคารกลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นวิธีการรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนนิยมนำเงินไปฝากธนาคารมากขึ้น เพราะได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ แต่ประชาชนจะชะลอการลงทุนลง เพราะรู้สึกว่าตนเองมีภาระต้นทุนต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้

  1. พึ่งพาการผลิตในภูมิภาคมากขึ้น

จากสถานการณ์ในช่วงโควิด จะเห็นว่าประเทศจีนที่เป็นเหมือนแหล่งผลิตสินค้าหลักของโลกมีการปิดประเทศอย่างจริงจัง จึงส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงักไปเป็นเวลานาน ส่งผลต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรงในหลายด้าน ดังนั้นในอนาคตการผลิตอาจจะย้ายฐานออกจากจีนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์แบบเดิมในอนาคต และจะมีการผลักดันให้เกิดการผลิตภาคในภูมิภาคเดียวกัน จึงเรียกว่าจะเกิดการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) นั่นเอง

  1. สงครามจะดันราคาพลังงาน

สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้เกิดอุปทานพลังงานในอัตราที่สูง จึงดันราคาพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้สูงขึ้นไปด้วย ซึ่งในช่วงโควิดภาคธุรกิจเป็นฝ่ายรับภาระต้นทุนพลังงานนี้โดยตรง เพราะประชาชนลดการซื้อขายและการเดินทาง แต่ในตอนนี้จะเริ่มมีการผลักภาระนี้ให้คนทั่วไปมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นโดยตรงนั่นเอง จึงเป็นผลให้เงินเฟ้อมีความรุนแรง

  1. เศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ

จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาราคาพลังงานโดยเฉพาะในทวีปยุโรป แถมยังส่งผลต่อต้นทุนราคาอาหารอย่าง ธัญพืช ข้าวสาลี น้ำมันทานตะวันให้สูงขึ้นกว่าที่เคย สหรัฐอเมริกาจะเผชิญกับความกดดันเรื่องเงินเฟ้อแบบเต็ม ๆ ทางฝั่งเอเชียอย่างประเทศจีนยังมีความกังวลเรื่องการระบาดของโรคโควิดอยู่ จึงทำให้โอกาสการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทำได้ช้ากว่าที่อื่น ๆ นั่นเอง จะเห็นความภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะยังอยู่ในช่วงความถดถอยอย่างชัดเจน

จะเห็นว่าสถานการณ์ในปีนี้ยังน่าเป็นห่วงเพราะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ปัญหาสงครามระหว่างประเทศยังคงมีความยืดเยื้อ ทำให้สถานการณ์ด้านต้นทุนต่าง ๆ ยังมีความผันผวน ในฐานะประชาชนทั่วไปสิ่งที่สามารถทำได้คือการติดตามข่าวสารต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และพยายามรัดเข็มขัดตัวเอง ลดความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อรอรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันอย่างมั่นคง

เศรษฐกิจโลกหลังโควิดจะเป็นยังไง รู้ไว้เพื่อเตรียมปรับตัว