เศรษฐกิจในยุค 1950

จีนจัดพิธีเฉลิมฉลองวันชาติ 70 ปี มองย้อนกลับไปในยุคก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน พรรคคอมมิวนิสต์เข้ามาควบคุมประเทศ ทุกคนยากจนอย่างเท่าเทียมกัน สมัยนั้นจีนพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ไม่มีคู่ค้า ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต ต่อมาจีนเปิดกว้างและปฏิรูปตลาดการค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ พร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและเปิดเส้นทางการค้ากับต่างประเทศเพื่อฉุดคนหลายร้อยล้านคนให้พ้นจากความยากจน จนถึงปัจจุบันจีนกลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แม้ว่าระบบเศรษฐกิจกระจายความมั่งคั่งสู่ประชาชน แต่กลับทำให้ความเหลื่อมล้ำมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาเศรษฐีจำนวนน้อยยืนอยู่บนจุดสูงสุดของปิรามิด ขณะที่ครอบครัวส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน

เศรษฐกิจในยุค 1950

ในช่วงทศวรรษ 1950 เป็นยุคของเหมาเจ๋อตงที่พยายามพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งประเทศอดอยาก และยิ่งลำบากมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปีทศวรรษ 1960 หลังยุคของประธานเหมาเข้าสู่สมัยการปฏิรูปของเติ้งเสี่ยวผิงเริ่มมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ชาวนาได้สิทธิ์ทำนาในแปลงของตัวเอง ปัญหาการขาดแคลนอาหารบรรเทาลง และมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น จีนและสหรัฐสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นใหม่ เงินทุนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากแรงงานราคาถูก ต้นทุนค่าเช่าที่ดินถูก เศรษฐกิจจีน เติบโตแบบก้าวกระโดดน่าประทับใจที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

จีนกลายเป็นประเทศการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตภัณฑ์สินค้าจากจีนมีขายอยู่ทั่วไปเพราะต้นทุนการผลิตต่ำทำให้ขายราคาถูก เหมาะสมกับยุคเศรษฐกิจในยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าจากจีนจึงเป็นที่ต้องการ โดยมีการสั่งซื้อจากหลายประเทศทั่วโลก การปฏิรูปเศรษฐกิจช่วยยกระดับชีวิตคนจีนหลายร้อยล้านคนให้กินดีอยู่ดีขึ้น อัตราความยากจนลดลง ประชาชนมีการศึกษาดีขึ้น คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า กำลังแรงงานของจีนเกือบ 30% จะได้เข้าศึกษาต่อถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยในสังคมจีนที่มีประชากรถึง 1,300 ล้านคน ความไม่เท่าเทียมยิ่งเพิ่มสูงและเห็นชัดมากขึ้นว่าความสำเร็จทางเศรษฐกิจก็ยังไม่แพร่กระจายอย่างทั่วถึง ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนา เศรษฐกิจโลก ที่มีความรวยแบบกระจุกตัวอยู่ที่นายทุนจำนวนน้อยรายในประเทศก้าวใหม่ของจีนจะกระทบเศรษฐกิจโลกอย่างไร

ปัญหาความเหลื่อมล้ำส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ คนรวยมีความมั่งคั่งสูง ชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น แต่ชุมชนชนบทยังยากจน แรงงานขาดทักษะความรู้และมีความชรา ปัญหาความไม่เท่าเทียมในระบบเศรษฐกิจของเวเนซูเอล่าเป็นโมเดลที่นักเศรษฐศาสตร์ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยรู้สึกเสียวสยองยิ่งว่าประเทศของตนเองกำลังจะเดินทางรอยหายนะนั้น เนื่องจากเศรษฐกิจทั้งหมดไม่ก้าวหน้า กลับกระตุ้นความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างคนรวยและคนจน ธนาคารโลกชี้ชัดว่ารายได้ของจีนต่อคนยังคงต่ำมาก อยู่ในเกณฑ์ของประเทศกำลังพัฒนา รายได้เฉลี่ยต่อปีของจีนอยู่ที่ 300,000 บาท เทียบกับคนอเมริกันซึ่งอยู่ที่ 1.86 ล้านบาท ทั้งที่มหาเศรษฐีและบริษัทธุรกิจจีนรวยติดอันดับท็อปของโลก ยิ่งเวลานี้จีนอยู่ในยุคที่ความเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง หลายปีที่ผ่านมาภาคธุรกิจพยายามลดการพึ่งพาการส่งออก เนื่องจากความต้องการสินค้าทั่วโลกลดลงและสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ยืดเยื้อ แรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีประชากรสูงอายุมากขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

จีนยังคงเป็นกลไกสำคัญที่สุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ขณะนี้จีนกำลังเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนที่ครอบคลุมทั่วโลก ทดแทนการพึ่งพาตลาดสหรัฐ ต้องติดตามกันว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่และการสร้างเส้นทางสายไหมใหม่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างไรต่อไป

ก้าวใหม่ของจีนจะกระทบเศรษฐกิจโลกอย่างไร