เศรษฐกิจโลก รู้ก่อนเตรียมตัวก่อน ส่องเศรษฐกิจโลก 2566

เศรษฐกิจโลก รู้ก่อนเตรียมตัวก่อน ส่องเศรษฐกิจโลก 2566

เพราะสถานการณ์สงครามในยูเครนก็ยังคงดำเนินต่อเนื่องอยู่ ภาวะการค้าตึงเครียดโดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปจึงยังคงดำเนินอยู่ต่อไป และนี่ก็คือสัญญาณหลักของสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแม็คโครอีโคโนมิค ระดับโกลบอล ต่างก็ให้ความเห็นสอดคล้องเป็นเสียงเดียวกันว่า แนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2566 นั้น คงจะยังต้องเผชิญกับความมืดมนต่อไป 

ทั้งๆ ที่เราต่างก็คาดหวังกันไว้ว่าปี 2566 นี้ ควรจะเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกน่าจะกลับมาฟื้นตัวหลังการระบาดของไวรัส แต่ความหวังก็ถูกทำลายลงไปด้วยสงครามครั้งใหม่ในยูเครน ซึ่ง สงครามนี้ส่งผลให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นประวัติการ กล่าวได้ว่าเป็นภัยพิบัติเลยก็ไม่ผิดไปจากความเป็นจริงนัก

เจาะลึกแนวโน้มเศรษฐกิจของโลกจในระดับภูมิภาคประจำปี 2566 

อย่างที่ทราบว่าเศรษฐกิจของโลกอาจจะยังคงต้องเผชิญกับความเจ็บปวดต่อไปในปี 2566 ดังนั้นมามองภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในแต่ละภูมิภาค ผ่านประเทศในกลุ่มยักษ์ใหญ่ในทางเศรษฐกิจกันดูว่า ในแต่ละภูมิภาคนั้นมีแนวโน้มอย่างไร

1. ภูมิภาคอเมริกา

สำหรับที่อเมริกา ดัชนีกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจหดตัวอย่างต่อเนื่องจากผลพวงของการบริโภคที่ลดลง ตลาดยังคงถดถอย การจ้างงานยังคงลดลง ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐจึงต้องเข้ามาแทรกแซง เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เกิน 2% ต่อปี เพื่อป้องกันไม่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจเสียหาย

2. ภูมิภาคเอเชีย

ยักษ์ใหญ่ฝั่งเอเชียอย่างจีนนั้น อยู่ในช่วงที่ตลาดรอการเปิดอีก ครั้งหลังจากหลายเดือนของการล็อกดาวน์จากการระบาดของไวรัส โดยนักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นว่า สำหรับฝั่งเอเชียนั้นในปีหน้าค่อนข้างจะไม่น่าเป็นห่วงมากนัก โดยเฉพาะในจีน ดัชนีการบริโภคในภาคเอกชนเริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัว ซึ่งน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในปีหน้า โดยมีความหวังอยู่ที่การยกเลิกนโยบาย Covid-zero ในช่วงต้นปีของรัฐบาลจีน และนี่จึงทำให้เอเชียน่าจะเป็นความหวังที่สดใสสำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้

3. ภูมิภาคยุโรป

ในภาคพื้นยุโรปนั้น ระดับการฟื้นตัวเป็นไปอย่างค่อนข้างช้า โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร ถือเป็นประเทศเดียวใน EU ที่ดัชนีระดับผลผลิตทางเศรษฐกิจยังไม่กลับสู่ระดับก่อนการระบาดของไวรัส และคาดว่าน่าจะหดตัวลงอีก โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า สำหรับสหราชอาณาจักรเศรษฐกิจในปี 2566 จะเติบโตขึ้นเพียง 0.3% เท่านั้น และนี่คือสัญญาณของความอ่อนแออย่างเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด

ในปี 2566 กล่าวไว้ว่าโลกของเรากำลังเผชิญกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่เลวร้ายเป็นอย่างมาก สภาวะการนี้ไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นภาวะถดถอยทั่วโลก แต่ก็แสดงได้ชัดถึงการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะสำคัญไปทั่วแทบจะทุกภูมิภาค แต่ในความมืดมนนี้ก็ยังคงเห็นแสงสว่างเลือนราง เพราะอัตราเงินเฟ้อเริ่มที่จะลดลงในหลายประเทศ และนี่ก็คงจะทำให้หลาย ๆ คนมีความหวังขึ้นมาได้บ้างว่า เราจะผ่านปี 2566 ด้วยความอดทน และก้าวไปสู่แสงสว่างกันเสียที

เศรษฐกิจโลกหลังโควิดจะเป็นยังไง รู้ไว้เพื่อเตรียมปรับตัว

เศรษฐกิจโลกหลังโควิดจะเป็นยังไง รู้ไว้เพื่อเตรียมปรับตัว

หลังวิกฤตการณ์โรคระบาดที่รุนแรงอย่างโควิด หลายคนคิดว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาจะดีดตัวขึ้น และทำให้ตลาดสดใสขึ้นอย่างชัดเจน แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ตลาดเศรษฐกิจโลกไม่สดใสอย่างที่คาด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต้องเตรียมการเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ ซึ่งสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ได้ถูกรวบรวมไว้ในบทความดังนี้

  1. เงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยเพิ่ม

หลาย ๆ คนคงจะเห็นรายงานเรื่องธนาคารกลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นวิธีการรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนนิยมนำเงินไปฝากธนาคารมากขึ้น เพราะได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ แต่ประชาชนจะชะลอการลงทุนลง เพราะรู้สึกว่าตนเองมีภาระต้นทุนต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้

  1. พึ่งพาการผลิตในภูมิภาคมากขึ้น

จากสถานการณ์ในช่วงโควิด จะเห็นว่าประเทศจีนที่เป็นเหมือนแหล่งผลิตสินค้าหลักของโลกมีการปิดประเทศอย่างจริงจัง จึงส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงักไปเป็นเวลานาน ส่งผลต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรงในหลายด้าน ดังนั้นในอนาคตการผลิตอาจจะย้ายฐานออกจากจีนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์แบบเดิมในอนาคต และจะมีการผลักดันให้เกิดการผลิตภาคในภูมิภาคเดียวกัน จึงเรียกว่าจะเกิดการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) นั่นเอง

  1. สงครามจะดันราคาพลังงาน

สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้เกิดอุปทานพลังงานในอัตราที่สูง จึงดันราคาพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้สูงขึ้นไปด้วย ซึ่งในช่วงโควิดภาคธุรกิจเป็นฝ่ายรับภาระต้นทุนพลังงานนี้โดยตรง เพราะประชาชนลดการซื้อขายและการเดินทาง แต่ในตอนนี้จะเริ่มมีการผลักภาระนี้ให้คนทั่วไปมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นโดยตรงนั่นเอง จึงเป็นผลให้เงินเฟ้อมีความรุนแรง

  1. เศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ

จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาราคาพลังงานโดยเฉพาะในทวีปยุโรป แถมยังส่งผลต่อต้นทุนราคาอาหารอย่าง ธัญพืช ข้าวสาลี น้ำมันทานตะวันให้สูงขึ้นกว่าที่เคย สหรัฐอเมริกาจะเผชิญกับความกดดันเรื่องเงินเฟ้อแบบเต็ม ๆ ทางฝั่งเอเชียอย่างประเทศจีนยังมีความกังวลเรื่องการระบาดของโรคโควิดอยู่ จึงทำให้โอกาสการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทำได้ช้ากว่าที่อื่น ๆ นั่นเอง จะเห็นความภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะยังอยู่ในช่วงความถดถอยอย่างชัดเจน

จะเห็นว่าสถานการณ์ในปีนี้ยังน่าเป็นห่วงเพราะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ปัญหาสงครามระหว่างประเทศยังคงมีความยืดเยื้อ ทำให้สถานการณ์ด้านต้นทุนต่าง ๆ ยังมีความผันผวน ในฐานะประชาชนทั่วไปสิ่งที่สามารถทำได้คือการติดตามข่าวสารต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และพยายามรัดเข็มขัดตัวเอง ลดความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อรอรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันอย่างมั่นคง

ทำความเข้าใจเพื่อรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยอย่างต่อเนื่อง

ทำความเข้าใจเพื่อรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยอย่างต่อเนื่อง

วันเวลาหมุนมาอยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 แล้ว ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องจับตามอง เศรษฐกิจโลก  แบบเกาะติดเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นวินาทีความอยู่รอดของพวกเราก็ว่าได้ หากมองในมุมของคนตัวเล็กก็อาจจะเห็นแค่ว่าราคาทองกับราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการถีบตัวสูงตามไป ในขณะที่ค่าจ้างงานกลับไม่ได้ขยับตัวตามไป แต่เมื่อมองในองค์รวมทั่วโลกตอนนี้กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจเหมือนกันหมด แม้แต่ประเทศมหาอำนาจฝั่งยุโรป อเมริกา หรือจีนก็กำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตที่ต้องเอาตัวรอดอย่างถึงที่สุดไม่ต่างกัน

ช่วงเวลาก่อนเกิดภาวะโลกระบาด Covid-19 สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ก็ถือว่าไม่สู้ดีนัก แต่ก็ยังไม่ถึงจุดที่น่ากังวล พอประสบภาวะ Covid-19 กันถ้วนหน้า ประเทศที่อยู่ในระดับมหาอำนาจก็เจ็บตัวพอสมควร และทำให้เราเห็นภาพเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งในศักราชต่อไปก็มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ 

สาเหตุก็ไม่ได้มาจากราคาทองกับน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างเดียว แต่เรากำลังพูดถึงภาวะเงินเฟ้อที่ส่อแววว่าจะพุ่งสูงขึ้นในระดับอันตราย รวมไปถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดคะเนความเสียหายได้ สังเกตว่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาภัยพิบัติใหญ่เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว หรืออาจจะเป็นประเทศขั้วอำนาจก่อหวอดสงครามกัน อย่างเช่น รัสเซีย-ยูเครน จีน-อเมริกา จีน-ไต้หวัน เป็นต้น ไม่ว่าประเทศใดจะเริ่มสงครามก่อน แต่ทั่วทั้งโลกได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้แน่นอน 

เนื่องจากปัจจัยที่ว่านี้ส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจโลก ยิ่งกับประเทศที่กำลังพัฒนายิ่งลำบากหนัก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จึงได้ออกมาเตือนให้ทุกประเทศเตรียมรับมือกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ โดยเฉพาะวิธีบริหารจัดการเรื่องการเงินและการคลังภายในประเทศ และการดำเนินนโยบายที่มีผลเสียต่อภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งในจุดนี้ผู้นำประเทศจำเป็นต้องทำการบ้านหนักมาก เพราะหากดำเนินนโยบายสักอย่างผิดในครั้งแรกผลกระทบที่ตามมาจะกลายเป็นว่าสร้างปัญหาเพิ่มไม่รู้จบ จึงทำให้เห็นบนหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้งว่าผู้นำหลายประเทศประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบในความผิดพลาดของตนเอง และเปิดทางให้บุคคลอื่นเข้ามาแก้ไขปัญหาให้ถูกทางต่อไป

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วประชาชนก็ควรตั้งรับกับวิกฤตเช่นกัน เริ่มบริหารจัดการเงินหรือทรัพย์สินในมือให้เข้าที่เข้าทางตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่สำคัญควรติดตามข่าวเศรษฐกิจเป็นประจำ เพื่ออย่างน้อยที่สุดจะได้ผ่านวิกฤตนี้ไปแบบให้ตัวเองเจ็บตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง 

เศรษฐกิจพอเพียงกับชีวิตในยุคเมตาเวิร์ส

เศรษฐกิจพอเพียงกับชีวิตในยุคเมตาเวิร์ส

เมื่อพูดถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้นเกล้ารัชกาลก่อนได้ส่งมอบไว้ให้พสกนิกรชาวไทย ได้นำไปปรับใช้เพื่อสร้างความสุขให้กับชีวิตอย่างเพียงพอและพอเพียง โดยมีข้อใหญ่ใจความอยู่ที่การสร้างจิตนิสัยให้คนเราพอใจกับชีวิตของตนเอง ตระหนักรู้ในสิ่งที่มีพอใจในสิ่งที่เป็นโดย ไม่พยายามไขว่คว้าสิ่งที่อยู่ไกลเกินเอื้อม รวมทั้งเบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย ซึ่งเป็นวิถีพุทธ ผ่านการประยุกต์ให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นการใช้ชีวิตให้เพียงพอ มีความสุข รอดพ้นจากภัยวิกฤต ภายใต้การบริหารจัดการเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน

เราจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตในยุคเมตาเวิร์สได้อย่างไร

สำหรับเหล่าชาว gen z ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และใช้ชีวิตอยู่ในยุคเมตาเวอร์ส ยุคแห่งสังคมดาต้าดีสรับชั่นเช่นนี้ การจะนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้นั้น ก็จะต้องยึดถือใน 3 ประเด็น ก็คือ ต้องมีความพอประมาณ ต้องมีเหตุผล และต้องมีภูมิคุ้มกัน ภายใต้ความรู้ความเข้าใจ และคุณธรรมในการจัดการชีวิตประจำวัน อาทิเช่น

จะต้องไม่ปล่อยตนเองไปตามกระแสบริโภคนิยม

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะปัจจุบันเราทุกคนต่างก็ตกเป็นเหยื่อของการตลาดอย่างมากมายทำให้เราบริโภคสินค้ามากกว่าความจำเป็นจากอิทธิพลของการโฆษณาเสมอดังนั้นสำหรับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงเราจึงต้องคิดก่อนซื้อสินค้าให้มากขึ้นซื้อสินค้าในสิ่งที่จำเป็นและมีคุณภาพพยายามซ่อมแซมของที่มีอยู่ก่อนที่จะคิดซื้อใหม่หรือซื้อเพิ่มถ้ายังไม่หมดอายุการใช้งานเป็นต้น

ลองทำอาหารกินเองแทนที่จะซื้อกินบ้าง

จริงอยู่ว่า ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบอย่างในยุคปัจจุบัน การซื้ออาหารจะช่วยประหยัดเวลา แต่การทำอาหารกินเองแทนที่จะซื้อกินบ้างในบางครั้ง จะทำให้เราสามารถได้รับประทานอาหารที่เรามั่นใจได้ว่าสะอาด ปรุงสุกใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการ และยิ่งถ้าเกิดวิกฤตการณ์อย่างเช่น ช่วงไวรัสระบาด การที่เราลองหัดเรียนรู้ทำอาหารด้วยตัวเองบ้าง ก็จะทำให้เราสามารถการพึ่งพาตัวเองได้ แถมยังควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิมอีกด้วย

ทำบัญชีรายรับรายจ่ายในชีวิตประจำวัน

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันนั้นจะทำให้เราสามารถประเมิน และตรวจสอบตัวเองได้ว่า เราควรจะลดค่าใช้จ่ายในด้านใดบ้างเพื่อให้อยู่รอด อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจในการหารายได้เพิ่มให้กับตนเองได้อีก ด้วยการเห็นตัวเลขบัญชีที่ชัดเจนตามความเป็นจริง จะสร้างนิสัยที่ไม่ใช้เงินเกินตัว และใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้อย่างดี

และนี่เป็นตัวอย่างของพื้นฐานการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่เราสามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เพื่อให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยไม่เบียดเบียนทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

เศรษฐกิจพอเพียงกับชีวิตในยุคเมตาเวิร์ส

ชีวิตในยุคเมตาเวิร์ส

เมื่อพูดถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้นเกล้ารัชกาลก่อนได้ส่งมอบไว้ให้พสกนิกรชาวไทย ได้นำไปปรับใช้เพื่อสร้างความสุขให้กับชีวิตอย่างเพียงพอและพอเพียง โดยมีข้อใหญ่ใจความอยู่ที่การสร้างจิตนิสัยให้คนเราพอใจกับชีวิตของตนเอง ตระหนักรู้ในสิ่งที่มีพอใจในสิ่งที่เป็นโดย ไม่พยายามไขว่คว้าสิ่งที่อยู่ไกลเกินเอื้อม รวมทั้งเบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย ซึ่งเป็นวิถีพุทธ ผ่านการประยุกต์ให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นการใช้ชีวิตให้เพียงพอ มีความสุข รอดพ้นจากภัยวิกฤต ภายใต้การบริหารจัดการเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน โดยหนึ่งในแนวความคิดของคนยุคใหม่ ได้เอาการลงทุนเข้ามาเป็นตัวช่วยในการสร้างรายได้ อย่างที่เห็นๆกันคือ ลงทุนจากการเดิมพันฟุตบอล ถ้าหวังผลน้อยก็จะบอลเต็ง ประมานว่าใส่เท่าไหร่ได้เท่านั้น ส่วนหวังผลมากอย่างบอลสเต็ป จะเริ่มเดิมพันหลักร้อย แต่อาจจะได้ผลลัพธ์หลักพันหรือทะลุหลักหมื่นตามจำนวนคู่บอลที่เดิมพันไป

เราจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตในยุคเมตาเวิร์สได้อย่างไร

สำหรับเหล่าชาว gen z ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และใช้ชีวิตอยู่ในยุคเมตาเวอร์ส ยุคแห่งสังคมดาต้าดีสรับชั่นเช่นนี้ การจะนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้นั้น ก็จะต้องยึดถือใน 3 ประเด็น ก็คือ ต้องมีความพอประมาณ ต้องมีเหตุผล และต้องมีภูมิคุ้มกัน ภายใต้ความรู้ความเข้าใจ และคุณธรรมในการจัดการชีวิตประจำวัน อาทิเช่น

จะต้องไม่ปล่อยตนเองไปตามกระแสบริโภคนิยม

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะปัจจุบันเราทุกคนต่างก็ตกเป็นเหยื่อของการตลาดอย่างมากมายทำให้เราบริโภคสินค้ามากกว่าความจำเป็นจากอิทธิพลของการโฆษณาเสมอดังนั้นสำหรับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงเราจึงต้องคิดก่อนซื้อสินค้าให้มากขึ้นซื้อสินค้าในสิ่งที่จำเป็นและมีคุณภาพพยายามซ่อมแซมของที่มีอยู่ก่อนที่จะคิดซื้อใหม่หรือซื้อเพิ่มถ้ายังไม่หมดอายุการใช้งานเป็นต้น

ลองทำอาหารกินเองแทนที่จะซื้อกินบ้าง

จริงอยู่ว่า ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบอย่างในยุคปัจจุบัน การซื้ออาหารจะช่วยประหยัดเวลา แต่การทำอาหารกินเองแทนที่จะซื้อกินบ้างในบางครั้ง จะทำให้เราสามารถได้รับประทานอาหารที่เรามั่นใจได้ว่าสะอาด ปรุงสุกใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการ และยิ่งถ้าเกิดวิกฤตการณ์อย่างเช่น ช่วงไวรัสระบาด การที่เราลองหัดเรียนรู้ทำอาหารด้วยตัวเองบ้าง ก็จะทำให้เราสามารถการพึ่งพาตัวเองได้ แถมยังควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิมอีกด้วย

ทำบัญชีรายรับรายจ่ายในชีวิตประจำวัน

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันนั้นจะทำให้เราสามารถประเมิน และตรวจสอบตัวเองได้ว่า เราควรจะลดค่าใช้จ่ายในด้านใดบ้างเพื่อให้อยู่รอด อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจในการหารายได้เพิ่มให้กับตนเองได้อีก ด้วยการเห็นตัวเลขบัญชีที่ชัดเจนตามความเป็นจริง จะสร้างนิสัยที่ไม่ใช้เงินเกินตัว และใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้อย่างดี

และนี่เป็นตัวอย่างของพื้นฐานการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่เราสามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เพื่อให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยไม่เบียดเบียนทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ลงทุนอะไรดี ในยุคเศรษฐกิจโลกถดถอย

ลงทุนอะไรดี ในยุคเศรษฐกิจโลกถดถอย

ในขณะที่ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 ยังไม่มีความแน่นอน ท่ามกลางปัจจัยที่สำคัญๆในต่างประเทศที่เกิดขึ้น ทั้งการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐ สงครามรัฐเซียกับยูเครนที่ยังยืดเยื้อ การกลับมาระบาดของโควิดในจีน ธนาคารโลกระบุว่าประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเปิดใหม่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด การลดลงของรายได้ และการชะลอตัวด้านการลงทุน กำลังจะพาเราเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจโลกที่เริ่มจะถดถอย

แต่ในส่วนของประเทศไทย ที่สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย เริ่มมีการเปิดประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม ที่พักต่าง ๆ เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เริ่มออกนอกประเทศมากขึ้น แต่ถึงแม่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น แต่คาดการณ์ว่ายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าก่อนมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างรวมถึง ความเสี่ยงจากแนวโน้มเศรษฐกิจหลักของโลกอย่างในสหรัฐฯและยุโรปเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยดังที่กล่าวข้างต้น

ในขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความผันผวน การลงทุนต่างๆต้องศึกษาและดูแนวโน้มของเศรษฐในประเทศและเศรษฐกิจของโลกประกอบกันด้วย เพราะว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงเสมอ วันนี้เราจะมาแนะนำว่าควรลงทุนอะไรดี ที่จะมีผลดีและสามารถที่จะพอเก็งกำไรได้ในระยะสั้น ๆ

  • การลงทุนสะสมทองคำ

ทองคำยังเป็นการลงทุนที่ยังไปต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจ ค่าเงินดอลลาร์ จะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด ปัจจัยในการขับเคลื่อนทองคำยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าควรดูราคาทองย้อนหลังและช่วงเวลาที่ควรเข้าซื้อ จากแนวโน้มของเศรษฐกิจที่เริ่มถดถอย ผู้คนต่างมองหาและเริ่มลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยอย่างทองคำ เพื่อรองรับความเสี่ยงในเรื่องของค่าเงิน ทำให้ทองคำยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการลงทุนเสมอ ถึงแม้ว่าบางช่วงอาจมีที่ราคาทองปรับลงบ้าง แต่ก็เป็นโอกาสเหมาะที่เราจะเข้าซื้อ เพราะในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ราคาทองยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ลงทุนจะสามารถทำกำไรได้จากการที่เข้าซื้อเวลาทองปรับตัวลง และ เทขายในช่วงที่ทองเข้าสู่ช่วงขาขึ้นนั่นเอง

  • การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้คุณภาพดี ทั้งในและนอกประเทศ

การลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ เป็นการลงทุนในระยะเวลา 6 – 12 เดือน แล้วรอจังหวะลงทุนใหม่ตามเทรนของดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับขึ้น การลงทุนประเภทนี้ มีความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง มีคุณภาพดี  เราควรเลือกหุ้นกู้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดี และผลตอบแทนจะจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ  ซึ่งคล้ายกับการฝากเงินกับธนาคารที่ได้ดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อไป แต่การลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้จะได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเพราะว่ามีความเสี่ยงกว่า

ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ถ้าเราเป็นมือใหม่ที่อยากจะเริ่มลงทุน ควรศึกษารายละเอียดของแต่ละกองทุน หรือ สิ่งที่เราจะลงทุนให้ดีก่อน ควรจัดทำประเมินความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ จะได้ทราบว่าเรารับความเสี่ยงได้เท่าไหร่ในการลงทุน  หรืออาจลงทุนโดยผ่านทางธนาคาร เพราะจะได้มีคนให้ข้อมูลเรา อีกทั้งทางธนาคารสามารถปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมต่อสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะบางครั้งในการลงทุนบางประเภท อาจมีการสูญเสียเงินต้น ดังนั้น ก่อนการลงทุนประเภทใดก็ตามเราควรดูแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกว่ามีแน้มโน้มเป็นอย่างไรก่อนการลงทุน เพื่อที่เราจะได้รับผลตอบแทนและประโยชน์ที่งอกเงยอย่างที่เราคาดหวัง

จับตาเศรษฐกิจโลกในยุคที่ จีน – รัสเซีย – ยูเครน เป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

จับตาเศรษฐกิจโลกในยุคที่ จีน - รัสเซีย - ยูเครน เป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

หากพูดถึงประเทศมหาอำนาจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เชื่อว่าชื่อประเทศที่หลายคนนึกขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ จะต้องนึกถึงจีนและสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศมหาอำนาจอันเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก แต่สำหรับ ค.ศ. 2022 แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะยังเป็นประเทศมหาอำนาจ แต่ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกกลับกลายเป็น จีน รัสเซีย และยูเครน นั่นเพราะทั้ง 3 ดินแดนเกิดเหตุการณ์สำคัญจนส่งผลให้เศรษฐกิจโลกสั่นคลอนไปด้วย

แม้ภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะหลายประเทศได้เปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนกลับยังไม่เปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวตามมาตรการ Covid – 19 เป็นศูนย์ หรือมาตรการควบคุมการเข้าออกประเทศอย่างเข้มข้น รวมถึงการล็อกดาวน์บางเมืองเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ ซึ่งในปี 2022 ได้มีการปิดเมืองเศรษฐกิจสำคัญอย่างเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงชะงัก ส่งผลให้ช่วงครึ่งปีแรกเศรษฐกิจจีนขยายตัวเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างจีนหยุดชะงัก ย่อมส่งผลต่อการลงทุนและการนำเข้าส่งออกสินค้ากับประเทศธุรกิจชะลอตัวตามไปด้วย และแม้ปัจจุบันจีนยังคงมาตรการ Covid – 19 เป็นศูนย์ แต่ถึงอย่างนั้นนักลงทุนไทยต่างคาดการณ์ว่าช่วงปลายปี 2022 จีนน่าจะเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีนอีกครั้ง

นอกจากมาตรการ Covid – 19 เป็นศูนย์ จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกค่อนข้างซบเซาแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญด้านเศรษฐกิจของปี 2022 คือการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยสงครามครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลแค่เศรษฐกิจของสองประเทศเท่านั้น เพราะยังส่งผลกระทบวงกว้าง โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อโลก เนื่องจากอีกหนึ่งประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกามีมาตรการคุมเข้มนโยบายทางการเงินจนอาจนำมาสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั่นเอง

นอกจากนี้ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังทำให้หลายชาติตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซียเพื่อต่อต้านการใช้ความรุนแรงด้วยการตัดธนาคารรัสเซียออกจากเครือข่ายสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินโลก การทำธุรกรรมการเงินในรัสเซียจึงเกิดปัญหา และสงครามที่ยืดเยื้อยังทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงทำสถิติใหม่ ส่งผลให้ทั่วโลกเผชิญปัญหาภาวะเงินเฟ้อ และแม้ว่าในอนาคตความขัดแย้งอาจสงบลง แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกอาจไม่ได้ดีขึ้นตามไปด้วย เพราะมาตรการคว่ำบาตรยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เศรษฐกิจโลกยังคงซบเซาในระยะยาวนั่นเอง

เมื่อมาตรการ Covid – 19 เป็นศูนย์ของมหาอำนาจอย่างจีน รวมถึงสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลว่าเพราะอะไรเศรษฐกิจโลกจึงชะงักและค่อนข้างสั่นคลอนในช่วงนี้ รวมถึงเศรษฐกิจไทยเองที่มีปัญหาการนำเข้า การส่งออก รวมถึงการลงทุนกับประเทศเหล่านี้เช่นกัน นั่นทำให้ทิศทางเศรษฐกิจโลกในปี 2022 ยังเป็นเรื่องน่าสนใจที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด

เศรษฐกิจโลกถดถอยคืออะไร ทำไมนักลงทุนต้องรู้จัก

เศรษฐกิจโลกถดถอยคืออะไร ทำไมนักลงทุนต้องรู้จัก

ในช่วงนี้นักลงทุนหลายคนคงมักจะได้ยินคำวเตือนให้เราระวังภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยกันเป็นระยะ และหลายคนอาจเริ่มรู้สึกว่าได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังอายุน้อยอยู่อาจไม่ค่อยคุ้นชินกับคำคำนี้เท่าไรนัก และเชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์เจอกับเหตุการณ์ที่ว่านี้มาก่อน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเรื่องน่ากังวลนี้กัน

เศรษฐกิจโลกถดถอยคืออะไร

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คือ สถานการณ์ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นมีอัตราการเติบโตที่ลดลงหรือพูดง่าย ๆ ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นมีจำนวนที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการผลิต การใช้จ่าย การลงทุน การนำเข้าและส่งออก ซึ่งสุดท้ายก็จะไปกระทบกับการจ้างงานที่ลดลง คนจะต้องตกงานมากขึ้น สังเกตได้จากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และ GDP ของประเทศที่ต่ำลง และแน่นอนว่านี่เราไม่ได้พูดถึงความถดถอยแค่เศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของโลกทั้งใบ

ผลกระทบนั้นมีกี่แบบ

รูปแบบของภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น โดยหลักการแล้วจะสามารถวิเคราะห์ออกมาได้ทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน คือ

รูปแบบที่ 1 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้วฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

รูปแบบที่ 2 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยช่วงสั้น ๆ แล้วค่อย ๆ เกิดการฟื้นตัว

รูปแบบที่ 3 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้วฟื้นตัว แต่จะมีการกลับไปถดถอยใหม่อีกครั้งก่อนที่จะสามารุฟื้นตัวอีกครั้งได้

รูปแบบที่ 4 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้ว ใช้เวลานานในการฟื้นตัว

เศรษฐกิจถดถอยมีผลกระทบอะไรต่อการลงทุน

เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของแค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นภาวะถดถอยของทั้งโลกทั้งใบ และเมื่อเป็นอย่างนั้นหมายความว่าทุกตลาดที่เราลงทุนไว้จะได้รับผลกระทบทั้งหมด ทีนี้พอไม่มีการจ้างงาน การใช้จ่ายก็จะลดลง ก่อให้เกิดการลดลงของ Demand ที่ไปกระทบกับ Supply การผลิตของภาคอุตสาหกรรม สุดท้ายไม่ว่าเราจะเลือกลงทุนในตลาดไหนมันก็จะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเราได้เลยถ้าเทียบสัดส่วนกับความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญ

แล้วนักลงทุนจะทำอย่างไรดี

อย่างนั้นแล้วสิ่งที่ต้องเข้าใจอีกข้อก็คือเราไม่อาจสามารถเปลี่ยนทิศทางของการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนทิศทางการลงทุนของตัวเองได้ นักลงทุนควรเตรียมแผนรับมือโดยปรับรูปแบบการลงทุนไปยังตลาดที่เสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งผลตอบแทนอาจต่ำกว่า แต่ก็ยังดีกว่าไปเสี่ยงแบบไม่น่ารอด

ด้วยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ที่นักลงทุนทุกกลุ่มควรจะต้องให้ความสนและเฝ้าติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกให้ดี จะได้เตรียมการรับมือได้ทันหากภาวะถดถอยนี้เกิดขึ้นและขยายวงกว้างมายังตลาดการลงทุนและเงินของเรา

อัปเดต! ข่าวเศรษฐกิจโลกที่คนไทยควรรู้

ข่าวเศรษฐกิจโลกที่คนไทยควรรู้

เชื่อว่าเวลาดูข่าวหลายคนมักจะกดข้ามข่าวเศรษฐกิจโลก เนื่องจากไม่เห็นความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันแต่อย่างใด ในความเป็นจริงแล้วเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมักส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเสมอ ซึ่งในปี พ.ศ. 2565 มีข่าวเศรษฐกิจโลกที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของคนไทย ดังนี้

การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2560 หลังจากที่โดนัล ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีได้ทำการประกาศสงครามการค้าและเทคโนโลยีกับประเทศจีนส่งผลให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจโลกในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อหลายประเทศ เนื่องจากทำให้เกิดการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นได้รับผลกระทบด้านราคาเซมิคอนดักเตอร์ที่สูงขึ้น แต่ประเทศไทยก็มีโอกาสในการนำเข้าสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ในราคาที่ถูกลงมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีข้อดีจากการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจแต่ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่จะได้รับผลกระทบแง่ลบมากกว่า

สัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเกิดสภาวะเงินเฟ้อของเศรษฐกิจโลกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าต่าง ๆ ที่สูงขึ้นแต่ในตอนนี้เริ่มมีแนวโน้มในการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศไทยเริ่มมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นและยังเปิดรับนักท่องเที่ยวมากขึ้นด้วย โดย IMF ให้ความเห็นต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยเอาไว้ว่าแม้จะรัฐบาลจะมีนโยบายให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านการจับจ่ายใช้สอยแต่ก็เป็นเพียงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจระยะสั้นทำให้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องวางแผนและปรับนโยบายในการบริหารเงินเพื่อให้ในอนาคตเศรษฐกิจไทยจะได้ฟื้นตัวจากปัญหาการเงินได้ดีขึ้น

มุมมองไอเอ็มเอฟต่อเศรษฐกิจโลก IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่มีบทบาทด้านการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก IMF โดย IMF ได้ให้ความเห็นว่าจากปัญหาด้านสงครามของยูเครนและรัสเซีย, ผลกระทบจากการล็อกดาวน์ของประเทศจีนและอัตราเงินเฟ้อของเศรษฐกิจโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นและดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ราคาสินค้าอุปโภค – บริโภคเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มต่อภาระหนี้สินของประชาชนคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจมักส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกเสมอ การฟังข่าวเศรษฐกิจโลกจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยในการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ไม่มากก็น้อย

เงินเฟ้อ กับเรื่องที่เราไม่รู้ไม่ได้

เงินเฟ้อ

ถ้าใครที่ได้มีโอกาสติดตามข่าวเรื่องเศรษฐกิจโลกในช่วงนี้ก็จะเห็นว่ามีอยู่ข่าวหนึ่งที่หลายคนพูดถึงและดูท่าจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเศรษฐกิจอยู่ไม่น้อยเลย นั่นคือเรื่องของภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าดูแบบผิวเผินแล้วอาจฟังเป็นเรื่องไม่น่ากังวลสักเท่าไร แถมเงินเฟ้อก็ยังดูเป็นเรื่องดีด้วยเพราะมันคือภาวะเงินในระบบมีเยอะ ก็น่าจะเป็นเรื่องดี ใช่ไหม ? แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้ามเลย แถมเรื่องนี้เรายังเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่รู้ไม่ได้แล้ว

รู้จักเงินเฟ้อกับการมีเงินเยอะที่ไม่ใช่เรื่องดี

  • เงินที่มีเยอะเกินไป พูดกันง่าย ๆ ว่าภาวะเงินเฟ้อก็คือช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ที่ในระบบเศรษฐกิจมีจำนวนเงินหมุนเวียนที่เยอะเกินไป ส่งผลให้ค่าเงินที่มีอยู่นั้นมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุนั้นหลัก ๆ นั้นจะเกิดขึ้นจากความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่สูง แต่ตลาดไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นได้ หรือการแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และสุดท้ายก็คือการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมากเกินไปอันเนื่องมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและสถาบันการเงิน
  • ของแพงขึ้นค่าเงินลดลง เพราะต่อให้เงินในระบบจะเยอะก็ตาม แต่ผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจก็คือเรื่องของค่าเงินที่ลดลง ทำให้เราไม่สามารถซื้อสินค้าตัวเดิมในราคาที่เท่าเดิมได้ ดูได้ง่าย ๆ เลย ลองเทียบราคาก๋วยเตี๋ยวหนึ่งถ้วยในยุคก่อน ย้อนไปสัก 10 ปี เราอาจซื้อก๋วยเตี๋ยวหนึ่งถ้วยในราคา 40 บาท แต่ ณ เวลานี้ 50 บาท ยังอาจได้แค่ครึ่งถ้วยเท่านั้นเอง

ผลกระทบที่ไม่จบแค่เศรษฐกิจโลก

  • ค่าครองชีพที่ขึ้นแล้ว ขึ้นเลย หลัก ๆ เลยผลกระทบที่เราทุกคนจะได้รับจากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นก็คือเรื่องของค่าครองชีพที่สูงขึ้น อย่างที่อธิบายไปแล้วกับสินค้าเดิม ๆ ที่ต้องจ่ายเงินมากขึ้นถึงจะซื้อได้ กับราคาของหลาย ๆ อย่างที่จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ค่าครองชีพไม่ใช่ราคาน้ำมันหรือหุ้นที่ขึ้นแล้วจะลงกันได้ง่าย ๆ อย่างนั้นแล้วสรุปได้ง่าย ๆ เลยว่าถ้าหากเงินเดือนของเราไม่เพิ่ม ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้เราจนลงนั่นเอง

และทั้งหมดนั้นก็คือเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่เราไม่อาจมองข้ามได้เลย กับภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลกและกระเป๋าเงินของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นหมายความว่าเราเองก็ควรที่จะให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายและการลงทุน ที่ควรใช้และจัดสรรเงินอย่างรอบคอบให้มาก เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้แบบไม่เจ็บตัว