วัคซีนโควิด-19 จะสามารถฉุดเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้นจริงหรือ

วัคซีนโควิด-19 กำลังเป็นที่สนใจในระดับโลก เพราะเป็นความหวังในการปกป้องและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรโลกในการมีชีวิตรอดปลอดภัยจากการโรคไวรัสโควิด-19 ล่าสุดหน่วยงานระดับโลกอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ ได้ออกมาวิเคราะห์แนวทางเศรษฐกิจโลกว่า จะเติบโต 5.5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2564 หากเป็นไปตามความคาดหมายว่านานาประเทศทั่วโลกสามารถผลักดันให้วัคซีนโควิด-19 เข้าถึงผู้คนในประเทศของตนเองให้มากที่สุด แต่ทว่าสถานการณ์การกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรน่าอาจเป็นตัวแปรที่ส่งผลกระทบกับต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกได้เช่นกัน ดังนั้นการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 จะช่วยฉุดเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้นจริงหรือไม่ เรามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้ได้ทราบกัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไอเอ็มเอฟ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตการเงินโลกในปี ค.ศ. 2010 และผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาพบว่ามีการขยายตัวสูงถึง 5.5 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ทิศทางเศรษฐกิจในปี 2022 จะมีการขยายตัวอยู่ที่ 4.2 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่ากลายพันธุ์ เป็นตัวแปรสำคัญ

เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทั่วโลกมีตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวนสูงถึง 105,891,238 คน ตัวเลขความสูญเสีย 2,307,415 คน จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ +480,935 คน และมีตัวเลขผู้รักษาหายอยู่ที่ 77,656,205 คน ซึ่งเป็นแรงผลักดันอันแรงกล้าให้บรรดานักวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ชั้นนำทั่วโลกต่างเร่งค้นคว้าและพัฒนากระบวนการทดลองวัคซีนป้องกันโควิด-19 จนกระทั่งเป็นผลสำเร็จมีวัคซีนออกมาหลายชุดและหลายประเทศได้นำร่องโดยการเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชากรของตนเองแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฉีดมากที่สุดประมาณ 28 ล้านโดส จากจำนวนประชากร 328 ล้านคน ซึ่งพบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อลดภายหลังการฉีดวัคซีนสหรัฐ ตามมาด้วยประเทศจีนจำนวน 23 ล้านโดส สหราชอาณาจักร 9 ล้านโดส จากจำนวนประชากร 66.65 ล้านคน ส่วนอิสราเอลเป็นประเทศที่ไม่ใหญ่แต่ฉีดต่อประชากร 100 คนสูงที่สุด โดยฉีดไปแล้ว 4.66 ล้านเข็ม จากจำนวนประชากร 8.88 ล้านคน ซึ่งข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่ามีการฉีดไปแล้วกว่า 100 ล้านโดส หรือ ประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตามข้อมูลผลข้างเคียง เช่น อาการปวด หรือบวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ตลอดจนอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ด้วย

สำหรับประเทศไทย มีเป้าหมายเช่นเดียวกับนานาประเทศ โดยจุดประสงค์หลักของการฉีดวัคซีนก็เพื่อหวังผลในการลดการแพร่ระบาด อย่างรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯ

อย่างไรก็ตามจากรายงานของ ไอเอ็มเอฟ ระบุว่ามาตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 ควบคู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจมวลรวมหรือจีดีพีของประเทศสหรัฐฯ ภายในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีอัตราการขยายตัวราว 5.1 เปอร์เซนต์ ส่วนประเทศจีนภายหลังการรับวัคซีนและมีการคลี่คลายทางด้านเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราการขยายตัวจะอยู่ที่ 8.1 เปอร์เซนต์ภายในปีนี้ ดังนั้นเมื่อมองไปในแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ จึงทำให้เชื่อได้ว่าคำตอบเป็นไปในแนวโน้มที่ผ่อนคลายความตึงเครียดลง แต่ในระยะยาว เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าการใช้วัคซีนโควิด-19 จะช่วยฉุดให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นจริงหรือไม่

วัคซีนโควิด-19 จะสามารถฉุดเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้นจริงหรือ