สรุปเศรษฐกิจสำคัญ หลังไวรัสโควิดระบาด

สรุปเศรษฐกิจสำคัญหลังไวรัสโควิดระบาด

หากได้ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจระดับมหภาค จะพบว่ามีการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกหลังภาวะไวรัสโควิดระบาดในด้านที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากว่ามีปัจจัยที่กระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินทั่วโลกหลายประการ จะมีเหตุผลใดบ้างที่เป็นเช่นนั้น เราได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกันไว้ที่นี่แล้ว

ด้านการท่องเที่ยว

สถานการณ์ไวรัสโควิดทำให้กระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างหนัก การเคลื่อนย้ายผู้คนระหว่างเขตแดนต้องเป็นไปตามมาตรการล็อกดาวน์และการผ่อนปรนตามระยะ ยังต้องระวังการเดินทางและการปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ที่ต้องมีระยะห่าง หรือ Social Distance จึงทำให้หลายประเทศที่เคยมีรายได้จากการท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง รวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งนี้ยังส่งผลโดยตรงให้ธุรกิจสายการบิน หรืออากาศยานการท่องเที่ยวจำนวนมากต้องปรับลดพนักงาน หรือยุบสายการบิน เพราะไม่สามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในช่วงเวลานี้

ภาวะเงินฝืด

ปัจจุบันมีบริษัทปิดตัวลงในทุกประเภทอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าแฟชั่น ฯลฯ มีการควบรวมกิจการและมีการลดปลดพนักงานทุกระดับชั้น จึงมีอัตราการว่างงานสูงขึ้นหลายเท่าตัว คนทั่วโลกจึงอยู่ในภาวะรัดเข็มขัดระวังการใช้จ่ายอย่างมาก มีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยลดลง ทำให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งมีการประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะมีการหดตัวมากประมาณ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าช่วงเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ด้วย

สงครามการค้าระหว่างอเมริกาและจีน

ปัญหานี้มีมาก่อนเหตุการณ์โควิดระบาดแล้ว มีการแบนสินค้าและกำหนดมาตรการควบคุมสินค้านำเข้าส่งออกระหว่างกัน และกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะสองชาตินี้เป็นมหาอำนาจในโลกยุค 5G ที่มีความเชื่อมโยงในระดับมหภาคกับประเทศอื่นในทุกภูมิภาค ซึ่งในช่วงเวลานี้ปัญหานี้ก็ยังคงอยู่ ดังนั้นนักธุรกิจทุกคนจึงต้องคอยสังเกตสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรายวัน และติดตามนโยบายการค้าระหว่างสองชาตินี้ต่อไป

การเป็นหนี้ครัวเรือนและการปล่อยกู้ที่ยากขึ้น

ประชากรทั่วโลกต่างต้องการกู้จากสถาบันการเงินในประเทศตัวเองแบบดอกเบี้ยต่ำ แต่ขณะเดียวกันก็ยังขาดสภาพคล่องและมีความไม่แน่นอนทางด้านอาชีพ จึงทำให้ธนาคารปล่อยกู้ยากขึ้น กระแสเงินหมุนเวียนในระบบจึงมีภาวะฝืดเคือง นอกจากนี้ รัฐบาลของแต่ละชาติจำเป็นต้องอัดฉีดเงินงบประมาณเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม จึงเป็นภาวะที่ค่อนข้างยากลำบาก ทั้งผู้ที่ต้องการลงทุนสิ่งใหม่และนักธุรกิจเดิมที่ต้องประคับประคองธุรกิจเดิมให้เดินหน้าได้

การวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกจึงเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีความฝืดเคืองอีกสักระยะหนึ่ง เราทุกคนจึงต้องพยายามจัดสรรค่าใช้จ่ายให้รัดกุมและลดความเสี่ยงในการลงทุนที่ไม่แน่นอนออกไป

จับตาทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังโควิด-19 ผ่านพ้นไป

จับตาทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังโควิด-19 ผ่านพ้นไป

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 หนักหนาสาหัสเกินกว่าจะเยียวยาได้ในระยะเวลาอันสั้น และตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันและรักษาโรคนี้อย่างได้ผล เราชาวโลกคงใช้ชีวิตด้วยความหวั่นวิตก ภายใต้เงื่อนไขของชีวิตวิถีใหม่กันอีกยาวนานเลยทีเดียว แต่ไม่นานมานี้หลายประเทศก็ได้ผนึกกำลังความร่วมมือกันในทุก ๆ ด้านเพื่อให้เกิดวัคซีนและแนวทางการเยียวยาฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนให้กลับคืนมาอย่างปกติสุข ซึ่งหลายองค์กรระดับโลกได้ออกมาเคลื่อนไหวและวิเคราะห์ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านพ้นไปดังนี้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) คาดการณ์ว่าภายในปีนี้ เศรษฐกิจโลกจะหดตัวลงถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับเป็นภาวะย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่สถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในช่วงทศวรรษ 1930 โดยกองทุนไอเอ็มเอฟคาดว่าผลกระทบอย่างหนักจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2020 และจะเริ่มฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง เมื่อมาตรการล็อกดาวน์ถูกผ่อนคลาย ด้านธนาคารโลกได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการค้าระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว และบริการ ส่วนทิศทางการฟื้นตัวในแบบที่นักเศรษฐศาสตร์อธิบายโดยใช้ตัวอักษรตัว V, U, W หรือตัว L เป็นต้นแบบมีความน่าสนใจดังนี้

  1. การฟื้นตัวเป็นรูปตัว V จะเป็นการฟื้นตัวที่ดีที่สุด เพราะนั่นหมายถึงทิศทางของเศรษฐกิจที่ตกต่ำจนถึงจุดต่ำสุด แล้วจะทะยานพุ่งขึ้นอย่างทันที อาจเกิดขึ้นในกรณีที่แต่ละประเทศและในภาพรวมสามารถปลอดล็อกดาวน์ภายหลังที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถคิดค้นวัคซีนหรือแนวทางการรักษาโรคได้สำเร็จ เราอาจจะเห็นการถดถอยของเศรษฐกิจในรูปตัว V ซึ่งเศรษฐกิจจะกลับคืนสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว
  2. การฟื้นตัวรูปตัว U เป็นรูปแบบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีการพูดถึงมากที่สุด โดยจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 3 ปีกว่าเศรษฐกิจจะกลับไปเติบโตอย่างชัดเจน เป็นการฟื้นตัวแบบแอ่งก้นกระทะ คาดว่าหากเศรษฐกิจในปีนี้หดตัวลง 2.4 เปอร์เซ็นต์ และหลังคลายล็อกดาวน์มีอัตราการเติบโตถึง 5.9 เปอร์เซ็นต์ภายในปีค.ศ. 2021 ก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเป็นรูปตัว U ตามแนวโน้มการเติบโตและฟื้นตัวของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ชลอตัว เนื่องจากได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา
  3. การฟื้นตัวเป็นรูปตัว W เป็นรูปแบบการฟื้นตัวที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและความยากลำบาก หากวัคซีนยังไม่สำเร็จ หรือยังไม่สามารถหาวิธีรักษาโรคโควิด-19 ได้ ในขณะที่รัฐบาลรีบปลดล็อกมาตรการป้องกันต่าง ๆ และเปิดให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบโดยรวดเร็ว อาจเกิดการแพร่ระบาดเป็นระลอกที่ 2 ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักอีกครั้ง
  4. การฟื้นตัวเป็นรูปตัว L เป็นรูปแบบการฟื้นตัวแบบ นิว นอร์มอล หรือความปกติแบบใหม่ เศรษฐกิจหลังการปลดล็อกดาวน์จะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดไม่มากเท่าไรนัก อุปสรรคสำคัญคือ คือความล่าช้าของการคิดค้นวัคซีนเพื่อการรักษา อาจทำให้เศรษฐกิจตกต่ำยาวนานมากขึ้น

สำหรับมุมมองเศรษฐกิจไทยจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมจะฟื้นตัวในรูปแบบตัว U ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่งเป็นอย่างน้อย โดยภาคธุรกิจต่าง ๆ จะเริ่มปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ ๆ มากขึ้นภายในปี 2564 โดยธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าธุรกิจประเภทอื่น แต่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวที่ยาวนานยิ่งกว่า

แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือทั่วโลกจะจะฟื้นตัวแบบ V หรือ U แต่ก็ยากที่จะกลับไปเหมือนเดิมได้อีก เพราะมีปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดในขณะนี้คือ ภาคการท่องเที่ยว ร้านอาหาร กีฬา บันเทิง การบริการ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่มายังธุรกิจภาคส่วนอื่น ๆ ได้ในที่สุด

วิเคราะห์แนวโน้มโลก หลังพ้นไวรัสโควิด-19 ระบาด

IMF

นับจากช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากประเทศจีนและกระจายไปทั่วโลก เราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง ทั้งต่อการใช้ชีวิตประจำวันและด้านการงาน โดยเฉพาะในด้านของระบบเศรษฐกิจทั่วโลกที่ผู้คนเกิดปัญหาการว่างงาน มีหนี้สิน และไม่สามารถทำธุรกิจต่อได้ในภาวะที่มีโรคระบาด

ในด้านของธุรกิจระดับโลกนั้น สถาบันการเงิน IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2563 นี้ จะอยู่ในภาวะตกต่ำกว่าในอดีต ช่วงที่เรียกว่า Great depression เมื่อปีคริสต์ศักราช 1930 คือ มีการหดตัวมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ได้วิเคราะห์ไว้ว่าในอนาคต หลังจากที่ไวรัสนี้ได้ถูกควบคุมและมีวัคซีนในการป้องกันโรคอย่างได้ผลแล้ว ธุรกิจบางประเภทมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางภาวะ New Normal คือ การปรับตัวของผู้คนที่จะปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่ต่างไปจากเดิม และส่งผลขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้อีกครั้ง เรามาดูกันว่าธุรกิจใดที่น่าจะมีแนวโน้มดีต่อการฟื้นตัวบ้าง

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางบกและน้ำ – เนื่องจากผู้คนจะคำนวณต้นทุนในการทำธุรกิจอย่างเข้มงวดมากขึ้น จะเน้นการสร้างผลผลิตโดยประหยัดทั้งเวลา แรงงานคน และค่าเชื้อเพลิง จึงมีแนวโน้มหันไปทำธุรกิจออนไลน์และใช้บริการขนส่งโลจิสติกส์กันมากขึ้น

ธุรกิจทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข – การดูแลสุขภาพของผู้คนจะเป็นสิ่งที่รุ่งเรืองอย่างยิ่งในอนาคต เพราะหลายประเทศอยู่ในภาวะสังคมผู้สูงวัย และจากการระบาดของไวรัสโควิดก็ทำให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการใส่ใจสุขภาพมากขึ้นในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ทารกจนกระทั่งผู้สูงอายุด้วย

ธุรกิจประกัน – การทำประกันสุขภาพและประกันชีวิตจะเป็นที่นิยมมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาผู้คนจะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย จึงไม่นิยมทำประกันเพราะมองว่าเป็นภาระ แต่เมื่อมีการระบาดของโรคร้ายแรงขึ้นมา ก็จะทำให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ของการทำประกันสุขภาพมากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัว คาดการณ์ว่าธุรกิจกลุ่มนี้จะขยายตัวสูงเลยทีเดียว

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว จะมีธุรกิจบางกลุ่มที่ขยายตัวได้ช้า ได้แก่ ธุรกิจด้านรถยนต์ เนื่องจากผู้คนต้องสำรองค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินและสำรองเงินสดไว้ เพื่อความอุ่นใจในอนาคต หรือเพื่อการลงทุนแบบระยะยาวมากขึ้น ผู้คนจะหันไปใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ธุรกิจกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ดิน ก็เช่นกัน จะมีการเติบโตได้ช้าลง เนื่องจากคนมีความระมัดระวังในการสร้างหนี้ระยะยาวมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก จะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน อาจจะมีความแตกต่างไปจากการวิเคราะห์ได้ หากมีการใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่มาช่วยในการบริหารจัดการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจโลกในภาพรวมให้เดินหน้าได้ต่อไป

ปรับพอร์ตลงทุนหุ้นรออนาคต หลังผ่านพ้น โควิด-19

ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่ลดต่ำลงเรื่อย ๆ ช่วยคลายความตึงเครียดให้กับชีวิตของผู้คนและทำให้เริ่มมีความหวังว่าชีวิตที่เป็นปกติสุขจะกลับมาเร็ว ๆ นี้ สถานการณ์ที่คลี่คลายชัดเจน ทำให้นักลงทุนที่เคยเทขายหุ้นเกลี้ยงพอร์ตไปในช่วงต้นปี ได้เริ่ม Reset การลงทุนเพื่อเก็บหุ้นเข้าพอร์ตอีกครั้งเพื่อหวังอนาคตที่ดีกว่าหลังวิกฤตผ่านพ้น โดยยังเชื่อมั่นว่าการเข้าลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีมีอนาคต และหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลชัดเจน ดีกว่าการฝากเงินทิ้งไว้ในธนาคารเฉย ๆ แน่นอน โดยเฉพาะเป็นการฝากเงินในช่วงที่ดอกเบี้ย “ขาลง” อย่างเช่นขณะนี้ รวมถึงหลายๆโรงแรม หลายกิจการทั้งรายการทีวี ท่องเที่ยว แม้แต่กีฬาฟุตบอลที่วงการสะพัดมากที่สุด หลังจากโปรแกรมบอลพรุ่งนี้ถูกเลื่อนเตะออกไป ยอดสปอนร์เซอร์ก็ลดลงทำให้หลายสโมสรการเงินชะงักยกใหญ่

หลายคน เริ่มทำการบ้านอย่างหนัก ต้องรอบคอบและคิดอย่างระมัดระวังว่า ควรเลือกลงทุนหุ้นกลุ่มไหน และเป็นหุ้นตัวใดที่ไม่น่าได้รับผลกระทบจากผลพวงของเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสูญเงินลงทุนไป

เลือกลงทุนในหุ้นจากประเภทของธุรกิจที่ยังขยายตัวได้ดี

ในช่วงที่เกิดวิกฤต โควิด-19 ผู้คนได้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตจนกลายเป็นความปกติแบบใหม่ หรือ New Normal ขึ้นมา ซึ่งมีหลายประเภทธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากพฤติกรรมใหม่เหล่านี้ และกลายเป็นธุรกิจดาวเด่นขึ้นมา ธุรกิจเหล่านี้มีทั้งที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วไปที่เรียกว่าเป็น SMEs และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหุ้น ซึ่งนักลงทุนเริ่มเลือกเข้าไปลงทุนเก็บหุ้นเข้าพอร์ตหวังรออนาคตบ้างแล้ว ได้แก่

  1. ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ เป็นธุรกิจแรกที่กลายเป็นที่พึ่งของผู้คนในช่วงเกิดโรคระบาดร้ายแรง สร้างความตื่นตระหนักให้กับคนทั่วโลก ธุรกิจนี้ยังมีโอกาสขยายตัวได้ต่อเนื่องหลังผ่านช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะผู้คนจะคุ้นชินกับการใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น
  2. ธุรกิจโรงพยาบาล ยังคงไปได้ดีเช่นเดียวกับธุรกิจในกลุ่มแรก แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายจนไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ แต่การที่ประเทศไทยกำลังจะเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” อย่างเต็มรูปแบบ จำนวนผู้สูงวัยจะมีมากขึ้น การใช้บริการตามสถานพยาบาลต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็น นั่นจึงเป็นตัวแปรหนุนความแข็งแกร่งของธุรกิจในกลุ่มนี้
  3. ธุรกิจประกัน จากสถิติการขายประกันที่พุ่งกระฉูดในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด แสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้คนตื่นตัวที่จะสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับตัวเอง ยิ่งบริษัทประกันค่ายต่าง ๆ ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันเกี่ยวกับโควิด-19 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แสดงถึงโอกาสที่ธุรกิจประเภทนี้จะขยายตัวต่อเนื่อง
  4. ธุรกิจดิจิทัล เป็นธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จาก New Normal ของผู้คนชัดเจนที่สุด เพราะการรักษาระยะห่างทางสังคมและการอยู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ผู้คนเห็นความสำคัญของระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากขึ้น นั่นจึงทำให้ธุรกิจนี้มีโอกาสเป็นดาวเด่นที่พุ่งแรงต่อไปได้อีกหลายปี

นอกจากการเลือกลงทุนจากพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่ยังต้องพิจารณาถึงผลประกอบการและลักษณะการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจเหล่านี้เพื่อเป็นตัวแปรช่วยตัดสินใจเลือกลงทุน เก็บหุ้นเข้าพอร์ตรออนาคตหลังยุค โควิด-19 ด้วย

เศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรหลังโควิด-19 ระบาด

เศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรหลังโควิด-19 ระบาด

การระบาดของโควิด-19ในช่วงนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งที่เริ่่มต้นมาจากประเทศจีนมหาอำนาจของเอเชียชาติเดียว แต่ก็ได้บานปลายไปทั้งทวีปยุโรป อเมริกาและยังมีท่าทีที่จะลุกลามต่อไป แม้แต่ในประเทศไทยของเราเอง ก็ยังได้รับผลกระทบทุกหย่อมหญ้า เรามาดูกันว่าเศรษฐกิจโลกจะมีทิศทางอย่างไรหลังโควิด-19 ระบาด ตามการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ

เศรษฐกิจโลกตกต่ำลง จากสถานการณ์โควิด-19

การที่โควิด-19 ระบาดนั้น ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกตกต่ำลง คือ คาดว่าจะน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในอดีตนั้น เคยมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกมาแล้วเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว คือ ปีค.ศ. 1929 ซึ่งไม่แน่ว่าผลกระทบจากโควิด-19 จะเกิดผลร้ายแรงกว่าหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่ ค.ศ. 2020 มีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว นำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างกัน ธุรกิจการบิน รวมถึงการพึ่งพิงเทคโนโลยีวิทยาการซึ่งกันและกัน การติดเชื้อที่แพร่กระจายไปทั่วไม่ว่าจะในพื้นที่ใด จึงย่อมส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกทั้งหมด

นอกจากนี้ สถาบันการเงินหลายแห่ง ต้องประสบกับปัญหาหนี้ที่ไม่สามารถจ่ายได้ไหวของลูกหนี้ทุกระดับชั้น ทั้งกลุ่มคนทั่วไป ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ ฯลฯ เนื่องจากลูกหนี้แต่ละรายมีภาวะฝืดเคืองของธุรกิจในระดับปลีกย่อยมากขึ้น ร่วมกับการที่ประชาชนมีกำลังการซื้อน้อยลง และขาดรายได้จากการที่บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถสร้างผลประกอบการได้ตามเป้าหมาย ทำให้อยู่ในภาวะรัดเข็มขัด และเกิดการกู้หนี้ยืมสินที่ยากจะคืนเจ้าหนี้ได้ในเวลาอันสั้น สภาพคล่องภายในประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ขาดหายไป จึงมีผลกระทบรวมกันใหญ่โตต่อเศรษฐกิจระหว่างชาติ

แม้แต่ในวงการธุรกิจน้ำมันเองก็มีผลเช่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันสายการบินต่าง ๆ ต้องหยุดการให้บริการเนื่องจากโควิด-19ระบาด ไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างภูมิภาคได้คล่องตัวอย่างในอดีต น้ำมันเชื้อเพลิงจึงเหลือปริมาณสูงมากที่เก็บคงคลังไว้ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก อย่างเช่น ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย ก็ได้รับผลกระทบในเรื่องของสภาพคล่องตามไปด้วย ดังนั้น จากนี้ราคาน้ำมันจะลดลง ประเทศผู้ผลิตก็จะสูญเสียรายได้ไป และกระทบต่อราคาของกลุ่มหุ้นในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานและการขนส่งต่าง ๆ ตามไปด้วย

สำหรับคนไทยที่เคยผ่านช่วงวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 มาแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจคราวนี้น่าจะเลวร้ายยิ่งกว่า เนื่องจากปัญหานี้กระทบกันทั่วทั้งโลกพร้อม ๆ กัน กระทบทั้งธุรกิจรายเล็ก startup ธุรกิจรายใหญ่ที่มีบริษัทเปิดมานานหลายสิบปี ฯลฯ ดังที่เราเห็นเป็นข่าวว่ามีหลายบริษัทต้องยกเลิกกิจการ โดยเฉพาะด้านการโรงแรม มีการปลดพนักงานออก เกิดปัญหาคนตกงานหลายแสนคนในช่วงเวลาสั้น ๆ

การคาดหวังว่าจะมีวิธีที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ต้องใช้ระยะเวลาในการปรับสมดุลของระบบเศรษฐกิจขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ในแต่ละครอบครัวก็ควรใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยให้คุมค่าใช้จ่ายและบริหารจัดการการเงินในครอบครัวให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้

เศรษฐกิจโลกตกต่ำลง จากสถานการณ์โควิด-19

สัญญาณเตือนปัญหาเศรษฐกิจโลก

5 สัญญาณที่จะเกิดขึ้น

วิกฤตเศรษฐกิจโลกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ได้อย่างชัดเจน แต่ก่อนจะเข้าถึงช่วงไคลแม็กซ์ของวิกฤตนั้นมักจะมีสัญญาณเตือนมาให้เรารับรู้ก่อนเสมอ ซึ่ง 5 สัญญาณเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เรามาดูกันว่ามีสัญญาณไหนบ้างที่เราสามารถสังเกตได้

5 สัญญาณที่จะเกิดขึ้น

มีสัญญาณเตือนจากสถานการณ์สั่นสะเทือนวงการธนาคาร

ถ้าเราดูจากธนาคารใหญ่ของแต่ละประเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ทำให้ต่ำลงไปอีก ส่วนธนาคารที่เป็นธนาคารเพื่อการพาณิชย์นั้นก็จะได้รับผลกระทบจากการลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนี้ไปด้วยเช่นกัน ซึ่งสัญญาณเตือนวิกฤตส่วนใหญ่แล้วจะมาจากธนาคารนั่นเอง

ระบบเศรษฐกิจเกิดความผันผวน

หากสังเกตความผันผวนภายในประเทศไทยของเรานั้น เราสามารถสังเกตได้จากราคาหุ้นที่มีความผันผวนสูง แต่หากมองภาพรวมหลาย ๆ ประเทศ เราสามารถดูได้จากการที่นายทุนหรือผู้ประกอบเปลี่ยนใจการลงทุนหรือเปลี่ยนใจยกเลิกการผลิตหลายอย่าง แล้วยังรวมถึงการมีตลาดใหม่เกิดขึ้น เช่น ตลาดบนโลกออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดความผันผวนได้

เกิดสงครามการค้าที่สั่นสะเทือนระบบเศรษฐกิจของโลก

ช่วงปี 2019 ที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่ามีการปะทะศึกระหว่างจีนและอเมริกาที่พยายามแย่งชิงกันเป็นยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งหากประเทศทั้ง 2 นี้มีความเสียหายเกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดผลกระทบกับประเทศอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการซื้อขายและนำเข้าส่งออกกับประเทศเล็ก ๆ อื่น ๆ ทั่วโลก

มีการโจมตีทางออนไลน์หรือไซเบอร์

ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าทางธนาคารได้ทำการแข่งขันกันทำแอปพลิเคชันและโปรโมชั่นออกมา เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้แอปพลิเคชันของตัวเอง ซึ่งในเวลาเดียวกันการแข่งขันนี้ก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจ้างงานพนักงานธนาคาร รวมถึงกระทบธุรกิจที่ไม่มีการรองรับการชำระเงินด้วยระบบ cashless อีกด้วย

ปัญหาหนี้สินจากระดับจุลภาคจนถึงระดับมหภาค

ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเรื่องหนี้สินของประชาชนเท่านั้น แต่จะส่งสัญญาณเตือนเป็นปัญหาระดับชาติโดยสัญญาณเตือนนี้อาจสื่อด้วยการที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม ค่าเงินแข็งตัวมากขึ้น ซึ่งทำให้หนี้สินของประเทศเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ลองคิดดูสิว่าหากประเทศใดเป็นหนี้สินแล้ว ก็อาจทำให้ล้มละลายได้เหมือนกัน ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดผลกระทบกับประเทศคู่ค้าอีกหลายประเทศแน่นอน

ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกจึงเป็นเรื่องที่เราควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ที่กำลังจะเกิด ถ้าคุณค้นหาสัญญาณเหล่านี้เจอแล้วอย่าลืมเตรียมความพร้อมของตัวเองให้ดี เพื่อรับมือกับวิกฤตที่กำลังมาถึง

สัญญาณเตือนปัญหาเศรษฐกิจโลก

COVID-19 แรงกระแทกต่อเศรษฐกิจโลก

COVID-19 แรงกระแทกต่อเศรษฐกิจโลก

การปรับลดเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2563 ของประเทศต่าง ๆ ลง หลังจากผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่มาไม่นาน สะท้อนถึงความกังวลว่าเศรษฐกิจปีนี้น่าจะมีปัญหาหนัก และยังไม่รู้ว่าจะคลี่คลายได้เมื่อไหร่

เพราะสาเหตุหลักของการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลก ในขณะนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะจัดการได้ง่าย ๆ เหมือนกับปัญหาที่เคยผ่านมา นั่นเป็นเพราะทุกประเทศต้องจัดการกับ โรคระบาดรุนแรง โควิด -19 โรคที่ติดต่อกันได้ง่ายดาย แต่ป้องกันและรักษาค่อนข้างยาก

โควิด-19 โรคอุบัติใหม่ในปี 2020

โควิด-19 เป็นชื่อที่องค์การอนามัยโลก (WHO)ใช้เรียกโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือที่หลายคนคุ้นหูกับชื่อไม่เป็นทางการว่า ไวรัสอู่ฮั่น เพื่อเลี่ยงการใช้ชื่อสถานที่ บุคคล หรือชื่อสัตว์ เป็นชื่อโรค

ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกอย่างไร ก็ไม่ได้เปลี่ยนระดับความรุนแรงของโรคนี้ โดยล่าสุดจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มต่อเนื่อง หลายประเทศต้องยกระดับการเตือนภัยโรคนี้เป็นสีแดงหรือระดับสูงสุด นั่นหมายถึงสถานการณ์เริ่มยากต่อการรับมือ

โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจอย่างไร

เมื่อเกิดการระบาดของโรคร้ายในหลายพื้นที่ทั่วโลก ผลกระทบย่อมเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ครอบคลุมหลายธุรกิจ โดยสามารถแยกเป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้

1. กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและสายการบิน เป็นกลุ่มธุรกิจแรกที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะผู้คนห่วงความปลอดภัย และไม่แน่ใจว่าการอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ จะมีโอกาสติดเชื้อได้หรือไม่ จึงเลือกที่จะอยู่ในเคหะสถาน หรือเลี่ยงการเดินทางให้มากที่สุด ทำให้สายการบิน ธุรกิจทัวร์ รถเช่า โรงแรม รวมถึงร้านขายของที่ระลึกซบเซาหนัก และยังไม่มีวี่แววว่าจะฟื้นตัวได้ในเร็ววัน

2. กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า ได้รับผลกระทบไม่ต่างไปจากธุรกิจท่องเที่ยว เพราะผู้คนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงเดินทางไปในที่ ๆ มีผู้คนหนาแน่น ซึ่งรวมถึงการซื้อของในห้างสรรพสินค้าด้วย

3. ภาคการผลิต และโรงงานอุตสาหกรรมกระทบหนัก โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้วัตถุดิบจากจีนมาผลิตสินค้า จะไม่สามารถเดินหน้าการผลิตได้เลยในช่วงที่จีนต้องหยุดโรงงานยาวนาน ระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ ขณะที่สินค้าส่งออกไปยังจีนก็ชะงักลงจากการหยุดงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือ ศูนย์กระจายสินค้า หรือห้างร้านต่าง ๆ ในประเทศ

4. สินค้าเกษตร สินค้าเกษตรหลายชนิดที่ไทยเคยส่งออกไปยังตลาดโลกได้ดี โดยเฉพาะผลไม้ยอดฮิตอย่างทุเรียน มีโอกาสได้รับกระทบหนัก เพราะการส่งออกจะทำได้ยากจากปัญหาเดียวกันกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศจีน

5. ตลาดหุ้นร่วงแรง เป็นภาพที่เกิดขึ้นให้เห็นชัดเจนทุกครั้งที่มีข้อมูลถึงสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลง จากโควิด -19 โดยเฉพาะเมื่อมีการประกาศสถานการณ์เป็นระดับ 3 ในหลายประเทศ ทำให้หุ้นดิ่งทั่วโลกทันที เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกกังวลต่อผลกระทบครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจจนยากจะเยียวยาโควิด-19 โรคอุบัติใหม่ในปี 2020

สถานการณ์ที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้คนระมัดระวังตัวเพื่อไม่ให้ติดโรคร้ายนี้เท่านั้น หากแต่ยังทำให้ต้องระมัดระวังการลงทุนและการจับจ่าย จนทำให้เศรษฐกิจโลกซบเซาหนัก โดยอาจย่ำแย่กว่าที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งก็เป็นได้

ไขข้อข้องใจ ทิศทางเศรษฐกิจโลก ปี 2563 เป็นอย่างไรในสายตาผู้เชี่ยวชาญ

บทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลก ปี 2563

ต้องยอมรับว่าปัญหาข้าวยากหมากแพงนั้นเป็นปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่เป็นกังวลมากที่สุดในขณะนี้ เพราะจากปัจจัยด้านต่าง ๆ ทั้งปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ สงครามการค้า ของมหาอำนาจของโลกระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดการชะลอตัวทางด้านเศรษฐกิจมากมาย การส่งออกไม่เปรี้ยงปร้างอย่างที่คิด แถมหลาย ๆ บริษัทยังมีการปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีคนว่างงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ นักลงทุน และประชาชนทั่วไปเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย วันนี้เราจึงมีบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลก ปี 2563 ในสายตาผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ มาฝาก แต่จะมีข้อมูลไหนน่าสนใจบ้างนั้น มาดูกันเลย

บทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลก ปี 2563

องค์การสหประชาชาติ (UN) : เริ่มต้นกันด้วยบทวิเคราะห์ของหน่วยงานระดับโลกอย่างองค์การสหประชาชาติหรือ UN ที่มีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 มีแนวโน้มที่ขยายตัวประมาณ 2.5% จากปีก่อน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างประเทศ และการผันผวนทางการเงินของหลาย ๆ ประเทศ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) : มาต่อกันด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเงิน ๆ ทอง ๆ อย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ที่เพิ่งมีการออกมาประกาศลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกหลังจากผ่านปีใหม่มาหมาด ๆ ลงเหลือ 3.3% จากที่เคยคาดเดาว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.4% แต่ทั้งนี้ IMF ก็ยังมองว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมทั่วโลกมีแนวโน้มสดใสกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน

ธนาคารโลก (World Bank) : แน่นอนการคาดการณ์ของธนาคารโลกหรือ World Bank เองนั้นก็เป็นในทิศทางบวกเช่นเดียวกัน เพราะธนาคารโลกเองมองว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน โดยเติบโตอยู่ที่ประมาณ 2.5% แต่ถึงอย่างนั้นปัจจัยหลักที่ชะลออัตราการเจริญเติบโตก็ยังคงมาจากแนวโน้มความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างประเทศ

PricewaterhouseCoopers (PwC) : สำหรับการคาดการณ์ของ PricewaterhouseCoopers หรือ PwC หนึ่งในสี่บริษัทตรวจสอบบัญชียักษ์ใหญ่ของโลก กลับมาในทิศทางตรงกันข้ามว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 จะชะลอตัวลงเหลือเพียง 3.4% ตามหลักของ Purchasing Power Parity หรือหลักความเท่าเทียมกันของอำนาจการซื้อ เนื่องจากปัจจัยของการแข่งขันและจับมือทางการค้ากันของกลุ่มประเทศต่าง ๆ

จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลกมองว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2563 นั้นมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นแบบรวดเร็วอย่างที่หลายคนอยากให้เป็น แต่ในเบื้องต้นก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจโลกโดยรวม อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ของสถาบันต่าง ๆ นั้นเป็นการนำข้อมูลและสถิติมาวิเคราะห์และทำนายผลเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดปี 2563 แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีปัจจัยอีกหลายด้านที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าและการส่งออก แต่กลับส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น การเกิดสงคราม ข้อพิพาทระหว่างประเทศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคระบาด เพราะฉะนั้นจึงควรใช้เงินอย่างระมัดระวังเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินไว้ได้

ทิศทางเศรษฐกิจโลก ปี 2563 เป็นอย่างไรในสายตาผู้เชี่ยวชาญ

ลงทุนอะไรดี ในภาวะเศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน

ลงทุนอะไรดี ในภาวะเศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน

ปัจจุบัน ผู้ที่คิดจะลงทุนจำเป็นต้องคิดให้รอบคอบมาก เพื่อที่จะให้เงินที่มีอยู่เพิ่มมูลค่าได้ดีที่สุด โดยมีความเสี่ยงอยู่ในค่าที่พอรับได้ ซึ่งการจะเพิ่มหรือลดมูลค่าของทรัพย์ที่มีได้อย่างดี ก็ต้องศึกษาติดตามสถานการณ์ของโลกอยู่เสมอ เรามาดูกันว่า ในช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกไม่แน่นอนเช่นนี้ ผู้ที่มีเงินและอยากเพิ่มมูลค่าให้แก่เงินเก็บ ควรจะต้องลงทุนในรูปแบบใด

ความเสี่ยงในช่วง เศรษฐกิจโลกผันผวน

ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนทั้งจากการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน หรือ อิหร่าน จะทำให้การลงทุนบางอย่างมีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น ลงทุนในตลาดหุ้นแบบเทรดรายวัน มีโอกาสที่จะสูญเงินมาก โดยเฉพาะถ้าคุณไม่มีประสบการณ์ในการเล่นหุ้นมาก่อน

แนะนำว่าในช่วงนี้ ให้ศึกษาเรื่องของระบบบัญชี หาค่าพื้นฐานที่ดีของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ลงทุนในแนวหุ้นพื้นฐานที่จะได้รับเงินปันผลในระยะยาวดีกว่าการซื้อหุ้นแบบเก็งกำไรซื้อขายตามจังหวะในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการสูญเงินถึงขั้นติดลบได้เลยทีเดียว

นอกจากนี้ การที่ภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดปัญหาจากความขัดแย้งของประเทศมหาอำนาจที่ผลิตน้ำมันอย่างอิหร่าน อาจส่งผลต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ ซึ่งทำให้บริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกในช่วงนี้ อาจจะมีส่วนของกำไรน้อยลง และต้องปรับตัวอย่างสูง

หากจะลงทุนในธุรกิจที่เป็นสินค้าจำหน่ายต่างประเทศ ก็ต้องคิดให้มาก เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งตัวและมีค่าขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นมาก ให้เป็นภาระที่ต้องใช้เงินทุนสำรองสูง

สำหรับผู้ที่ชอบการซื้อทองเก็บไว้ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีในช่วงเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในปี 2020 เนื่องจากทองคำยังเป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา

เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ทองคำจะมีมูลค่าอยู่ที่ 1 บาทเท่ากับ 5,000 กว่าบาท แต่ปัจจุบันเท่า 1 บาท มีมูลค่ามากกว่า 2 หมื่นบาท การซื้อทองเก็บไว้เก็งกำไรจึงมีประโยชน์กับคุณอย่างมาก และทำให้คุณสามารถที่จะนำมาเปลี่ยนเป็นเงินสดใช้ยามจำเป็นได้อย่างรวดเร็วด้วย ทั้งนี้ การซื้อทองคำเก็บไว้มีหลายรูปแบบ อาจจะซื้อเป็นทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ จากร้านที่คุณไว้ใจได้ ซึ่งจะมีเอกสารการันตีคุณภาพของทองคำ หรืออาจจะซื้อในรูปแบบของกองทุนบางตัวที่เป็นการลงทุนในทองคำโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ซึ่งมีทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องของความปลอดภัยที่จะเก็บทองคำไว้กับตัว และอย่าลืมว่าการซื้อทองคำในรูปแบบกองทุนยังอาจมีเงินปันผลหรือส่วนค่าตอบแทนในหลากหลายรูปแบบตามที่รายละเอียดของแต่ละกองทุนระบุไว้ด้วย

จะเห็นได้ว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกยุคปัจจุบันมีผลต่อแนวทางในการลงทุนอย่างมาก เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณได้มองเห็นแนวทางการลงทุนในภาวะเศรษฐกิจผันผวนได้ดียิ่งขึ้น

ความเสี่ยงในช่วง เศรษฐกิจโลกผันผวน

ไขข้อข้องใจใครคือ 5 ชาติผู้นำคุมเศรษฐกิจโลก

ไขข้อข้องใจใครคือ 5 ชาติผู้นำคุมเศรษฐกิจโลก

หากพูดถึงการแข่งขันระหว่างประเทศตอนนี้แน่นอนว่าก็คงไม่มีการแข่งขันกีฬาประเภทไหน ๆ ก็ดุเดือดเท่าสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อใดที่ประเทศเหล่านี้ออกนโยบายบอยคอต คว่ำบาตร เพิ่มภาษีนำเข้า-ส่งออก หรือจับมือกันทางการค้า ประเทศเล็ก ๆ ทั้งหลายต่างใจหายใจคว่ำรีบหาทางรับมือกันให้วุ่นแม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ลงไปเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงก็ตาม เหตุผลนั้นก็เนื่องจากเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศมักจะเกี่ยวข้องกับประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ประเทศไหนจะเป็นประเทศทรงอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจโลกบ้างนั้น วันนี้เรามีคำตอบดี ๆ มาฝาก

5 ประเทศ มีอิทธิพลเรื่องเศรษฐกิจโลก

ประเทศจีน – ถ้าพูดถึงด้านเศรษฐกิจโลก วินาทีนี้เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึงประเทศจีน พี่ใหญ่ของเอเชียที่มีอัตราการเติบโตก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีเศรษฐีจีนเกิดใหม่มากมาย แถมบางคนยังกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกอีกต่างหาก อย่างไรก็ตามแม้นักวิเคราะห์หลายคนจะมองว่าขณะนี้เศรษฐกิจจีนอาจมีการชะลอตัวบ้างเล็กน้อย แต่ถึงอย่างนั้นจีนก็ยังคงครองแชมป์ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกอยู่ดี

ประเทศสหรัฐอเมริกา – หากมีชื่อของพี่จีนของเราแล้ว จะไม่พูดถึงคู่แข่งสำคัญอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาก็คงไม่ได้ เพราะต้องยอมรับว่าประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นผู้นำโลกในทุกด้าน ทำให้สหรัฐอเมริกามีอำนาจในการต่อรองทางการค้าและกำหนดนโยบายนำเข้าส่งออกกับหลาย ๆ ประเทศได้

ประเทศรัสเซีย – สำหรับประเทศต่อมา หลายคนอาจรู้สึกก้ำกึ่งว่าเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจจริงหรือ เพราะไม่ค่อยได้ยินข่าวเศรษฐกิจของประเทศนี้สักเท่าไหร่ แต่บอกเลยว่าประเทศรัสเซียนั้นเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติสำรองในประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการถูกสหรัฐพยายามคว่ำบาตรมาหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้ทำให้รัสเซียสะเทือนเลยสักนิด แถมยังหันไปจับมือกับจีนให้สหรัฐฯ เจ็บใจอีกต่างหาก

ประเทศญี่ปุ่น – เชื่อว่าทุกคนรู้อยู่แล้วว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของโลก ดังนั้นจึงทำให้ที่ญี่ปุ่นกลายเป็นตลาดใหญ่ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ไอที เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และรถยนต์ไปยังประเทศต่าง ๆ ไปโดยปริยาย ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีกับหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ประเทศสหราชอาณาจักร – ปิดท้ายกันที่ประเทศสหราชอาณาจักร หนึ่งในประเทศที่มีคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับดีเยี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ออกหน้าคว่ำบาตรบอยคอตประเทศไหนเหมือนเพื่อนรักอย่างสหรัฐฯ แต่ทุกครั้งที่มีการประชุมสรุปท่าทีทางเศรษฐกิจของบรรดาชาติผู้นำ ประเทศสหราชอาณาจักรมักเป็นตัวแปรสำคัญที่ถูกดึงเข้าไปร่วมด้วยทุกครั้งไป

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ 5 ชาติผู้นำคุมเศรษฐกิจโลกที่เรานำมาฝากนี้ ซึ่งจะเห็นว่านอกจากประเทศเหล่านี้จะทรงอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ทางการทหารเองก็ใช่ย่อย เพราะแต่ละประเทศมีรากฐานมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การห้ำหั่นกันทางการค้าจะถูกนำขึ้นมาเป็นข้ออ้างสำหรับการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศ

5 ประเทศ มีอิทธิพลเรื่องเศรษฐกิจโลก