เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เราลงทุนอะไรดี

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เราลงทุนอะไรดี

สภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนช่วงหลายปีมานี้ นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ต่างกล่าวว่าเป็นปัญหาของเศรษฐกิจระยะชะลอตัว ซึ่งเกี่ยวพันกับปัญหาการค้าการทูตระหว่างสองประเทศใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาในการฟื้นสภาวะตลาดการเงินการลงทุน เรามาดูกันว่า ในภาวะนี้คนไทยควรลงทุนแบบใดดีจึงจะปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำ

ลงทุนด้านไหนดี กับเศรษฐกิจแบบนี้

ลงทุนทองคำ : เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว ควรเลือกซื้อสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองแล้วรอเวลา เช่น เก็บไว้เก็งกำไรระยะ 3-5 ปี ซึ่งคงไม่มีใครปฏิเสธมูลค่าของทองคำ อันเป็นสิ่งที่คนนิยมมานานหลายสิบปี นับวันมีแต่จะมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทองคำราคาเฉลี่ยบาทละ 5 พันบาท แต่ปัจจุบัน ราคาบาทละ 25,000 บาท การซื้อทองเก็บไว้จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้อย่างปลอดภัยไม่มีคำว่าขาดทุน เป็นการลงทุนระยะปานกลางถึงยาวที่ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งจะซื้อในรูปแบบทองคำรูปพรรณหรือทองคำแท่งก็ได้ เพียงจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่ากำเหน็จต่างกัน ส่วนคนที่ไม่ต้องการซื้อเป็นทองเก็บไว้กับตัว ก็เลือกเป็นกองทุนที่ลงทุนกับทองคำแทนได้เช่นกัน

REITs หรือ Real Estate Investment Trust : ผู้ที่สนใจทำธุรกิจแนวอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า แต่ไม่ต้องการลงทุนเองด้วยเงินทุนสูง และไม่มีเวลาดูแลอาคารต่าง ๆ รวมถึงการตามเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เช่าด้วยตัวเอง ควรศึกษา REITs เพราะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์แบบเฉพาะตัวที่เรียกว่า ทรัสต์ ซึ่งนิยมมากในขณะนี้ ผู้จัดการทรัสต์ REITs จะคอยดูแลบริหารจัดการให้แบบมืออาชีพ ซึ่งทิศทางการเติบโตของ REITs จะสอดคล้องกับการลงทุนทองคำ การลงทุนใน REITs ก็เหมือนได้มีสินทรัพย์ให้เช่าของตัวเองทั้งในและต่างประเทศ โดยมีผู้ดูแลเป็นหูเป็นตาให้ เรียกได้ว่า REITs เป็นวิธีเพิ่มมูลค่าเงินที่คุณมีอยู่ให้เพิ่มได้เฉลี่ย 6-8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนสูงในสภาวะเศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน

ผลิตภัณฑ์กลุ่มเพื่อสุขภาพ : การลงทุนธุรกิจส่วนตัวที่มีตลาดผู้ซื้อทั่วโลกมากที่สุด คือ สินค้าด้านสุขภาพ เพราะคนจำนวนมากเข้าสู่อายุวัยหลังเกษียณ ซึ่งมีภาวะเสื่อมโทรมและต้องการการดูแลรักษาสุขภาพอย่างมาก สินค้าและบริการเพื่อสุขภาพจึงมีแนวโน้มตลาดที่ดี ไม่ว่าจะเพื่อการฟื้นฟูให้ร่างกายแข็งแรง การตอบโจทย์รักษาเฉพาะโรค เครื่องสำอางกลุ่มลดริ้วรอย การนวดบำบัดโรค ฯลฯ เพียงศึกษาในเชิงลึกและค่อย ๆ สร้างแบรนด์ให้ติดตลาด ก็มีโอกาสสูงที่จะทำกำไรได้หลายเท่าตัวในแต่ละปี

การลงทุนทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยง โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงถดถอย ต้องวางแผนการบริหารจัดการในระยะยาวอย่างรอบคอบ และต้องมีเงินสำรองมากเพียงพอด้วย จึงจะลดความเสี่ยงได้ดีขึ้น

ลงทุนด้านไหนดี กับเศรษฐกิจแบบนี้

อยากลงทุนต้องรู้แหล่งข่าวเศรษฐกิจโลก

อยากลงทุนต้องรู้แหล่งข่าวเศรษฐกิจโลก

การติดตามข้อมูลอย่างรวดเร็วในยุค 5G เป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเฉพาะผู้ที่สนใจด้านของการเงินการลงทุน ที่ต้องตัดสินใจซื้อขายหุ้น กองทุน หรือเลือกลงทุนทำธุรกิจต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับภาวะการเคลื่อนไหวของ เศรษฐกิจโลก และการเมือง ซึ่งจะทำให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการลงทุนรูปแบบต่าง ๆ กับต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องรู้แหล่งเว็บไซต์และแอปพลิเคชันในการหาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่มีความน่าเชื่อถือและมีข้อมูลฉับไว ซึ่งเราได้รวบรวมแหล่งข้อมูลที่สำคัญ มาฝากกันดังนี้

1. Investing.com

เป็นเว็บไซต์ชั้นนำที่มีข้อมูลข่าวสารการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ที่อัปเดตกันเป็นประจำ และยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ชอบลงทุนด้วยการเล่นหุ้น ซื้อขายตราสารหนี้ ลงทุนแบบ Future โดยจะมีการแสดงผลข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ให้ดูย้อนหลังอย่างละเอียด เพื่อการตัดสินใจลงทุนได้อย่างรอบคอบยิ่งขึ้น

2. MorningStar.com

เป็นเว็บไซต์ที่กูรูด้านการเงินแนะนำให้ผู้ที่ชอบลงทุนติดตามข่าวสารเป็นประจำ เพราช่วยให้วางแผนลงทุนการเงินและบริหารธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม ที่มีข้อมูลตัวเลขและผลวิเคราะห์ในอดีตที่น่าสนใจ หากติดตามเป็นประจำ จะทำให้ผลรวมกำไรจากการลงทุนสูงขึ้นอย่างแน่นอน

3. Bloomberg.com

นับเป็นแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือและอัปเดตอย่างรวดเร็ว มีทีมงานที่มีความสามารถสูง ทำให้นำข่าวสารด้านเศรษฐกิจจากทั่วทุกมุมโลกมาอัปเดตในที่เดียว จึงเป็นเว็บไซต์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ ๆ อยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็สามารถศึกษาข้อมูลเพื่อการลงทุนในต่างประเทศได้ตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งบริการแบบฟรีและข้อมูลแบบพรีเมี่ยม ที่ต้องเสียเงินแบบรายเดือน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญการันตีว่ามีความคุ้มค่าในการใช้บริการแน่นอน

4. Reuters.com

สํานักข่าวรอยเตอร์เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือจากคนทั่วโลก ทั้งในความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลและความรวดเร็วในการอัปเดตข่าวสาร มักมีการสรุปประเด็นหรือเสนอไอเดียที่มีความแปลกใหม่ ที่ผู้อ่านสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้อีกด้วย

5. cnbc.com

เป็นเว็บไซต์ที่มีการวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกอย่างรอบด้านจากผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดและการลงทุนจำนวนมาก มาร่วมกันในการเสนอข้อมูลและมีระบบ podcast ที่ช่วยให้ติดตามฟังได้สะดวกเข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่สนใจการลงทุน สามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาทุกสถานที่ แม้กำลังเดินทางหรือขับรถอยู่ เป็นช่องทางในการรับข่าวสารเศรษฐกิจโลกที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อยากลงทุนให้ประสบความสำเร็จ ต้องศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์รวมเศรษฐกิจโลกที่มีความน่าเชื่อถือและมีข้อมูลใหม่ ๆ ที่อัปเดตตลอดเวลา เพื่อให้ได้โอกาสที่ดีในการเลือกจังหวะลงทุนหรือตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ อย่างผิดพลาดน้อยที่สุด

เว็บไซต์ที่มีการวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกอย่างรอบด้าน

ปัจจัยสะท้อน เศรษฐกิจโลก อยู่ในความเสี่ยง

ปัจจัยสะท้อน เศรษฐกิจโลก อยู่ในความเสี่ยง

สงครามการค้า ระหว่างสหรัฐและจีนระลอกใหม่กำลังเขย่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในขณะนี้ เศรษฐกิจของสหรัฐยังคงแข็งแกร่งโดยเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เติบโตต่อเนื่องมานานกว่าทศวรรษ แม้ว่าการลงทุนทางธุรกิจจะลดลง พร้อมกับภาคการผลิตชะลอตัวก็ตาม ภายหลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐเข้ารับตำแหน่ง พบว่ามีกระแสตอบรับในเชิงบวก เช่น การจ่ายเงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกเกิดขึ้นหลายระลอกในปีนี้ เป็นผลจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าของสหรัฐกับจีน รวมถึงความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงทั้งเยอรมนีและจีน ส่อเค้าว่าเศรษฐกิจโลกตกอยู่ในความเสี่ยง ทำให้ต้องจับตาปัจจัยลบที่เพิ่มความเสี่ยงดังต่อไปนี้

สิ่งที่เห็นได้ว่า เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในความเสี่ยง

1.การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง กระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐอย่างมากในภาวะที่การลงทุนทางธุรกิจชะลอตัว แม้ว่าคนอเมริกันยังคงใช้จ่ายไปกับรถยนต์ เสื้อผ้า และกาแฟทุกวัน ขณะที่ยอดขายร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และธุรกิจออนไลน์ยังคงเติบโตแข็งแกร่งมาตลอดหลายเดือน แต่เศรษฐกิจสหรัฐก็ยังไม่น่าวางใจ มีแนวโน้มจะเกิดความตกต่ำในอนาคต ด้านผู้บริโภคเริ่มกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจอาจถดถอย จึงระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นและชะลอการซื้อของราคาแพงไว้ก่อน

2.สหรัฐขัดแย้งกับจีนมากขึ้น ผู้นำสหรัฐกลับมาเปิดศึกทำสงครามการค้ากับจีนระลอกใหม่ เกษตรกรจีนตกที่นั่งลำบาก กังวลว่าได้รับผลกระทบจากภาษีตอบโต้ของรัฐบาลจีน เพราะไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรต่อไป จึงตัดสินใจชะลอการลงทุนทางธุรกิจในสหรัฐ อาจดึงเกมชะลอการลงทุนต่อไปอีกระยะหนึ่ง รัฐบาลสหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่อัตรา 10% ในเดือนกันยายนนี้ มีผลกระทบต่อสินค้ากีฬาและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีน ส่วนจีนจะใช้มาตรการตอบโต้ที่จำเป็น ทำให้นักวิเคราะห์ของสหรัฐไม่คาดหวังว่าสองฝ่ายจะบรรลุข้อตกลงการค้าได้ก่อนการเลือกตั้งในปี 2563 สงครามการค้าจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจหนักหน่วงยิ่งขึ้น

3.เศรษฐกิจเยอรมนีถดถอยเต็มรูปแบบ หลังการชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่สอง เยอรมนีนับเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ถือว่าเศรษฐกิจถดถอยเต็มรูปแบบ มีโอกาสฉุดเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำไปด้วย กองทุนการเงินระหว่างประเทศปรับลดคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกในปีนี้อยู่ที่ 3.2% เรียกว่าอัตราการขยายตัวตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 พร้อมกับปรับลดคาดการณ์ปีหน้าเป็น 3.5% หากข้อพิพาททางการค้ารุนแรงขึ้น อัตราการขยายตัวจะลดลงกว่าครึ่ง ธนาคารกลางทั่วโลกได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เพื่อป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ธนาคารกลาง 3 แห่งคือ อินเดีย นิวซีแลนด์และไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพราะกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางการค้าและเศรษฐกิจมากกว่าเดิม

4.อัตราเงินเฟ้อต่ำเกินไป ธนาคารกลางพิจารณาว่าอัตราเงินเฟ้อต่ำในสหรัฐและทั่วโลกเป็นอันตรายว่า จะเกิดภาวะเงินฝืดเหมือนกับญี่ปุ่นที่ตกอยู่ในภาวะเงินฝืดนานกว่า 20 ปีแล้ว แม้จะเป็นเรื่องน่ากังวล แต่ดีกับผู้บริโภคตรงที่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในต่างประเทศอาจทำให้ราคาพลังงานถูกลง

5.การตัดสินใจของอังกฤษที่จะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลงอาจทำให้เศรษฐกิจของอังกฤษชะลอตัว ซึ่งจะเร่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเร็วขึ้นอีก

สภาพเศรษฐกิจโลก เป็นเรื่องที่ต้องคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและเตรียมรับมือความเสี่ยงต่าง ๆ ให้ดี เพื่อให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ โดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

สิ่งที่เห็นได้ว่า เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในความเสี่ยง

ก้าวใหม่ของจีนจะกระทบเศรษฐกิจโลกอย่างไร

เศรษฐกิจในยุค 1950

จีนจัดพิธีเฉลิมฉลองวันชาติ 70 ปี มองย้อนกลับไปในยุคก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน พรรคคอมมิวนิสต์เข้ามาควบคุมประเทศ ทุกคนยากจนอย่างเท่าเทียมกัน สมัยนั้นจีนพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ไม่มีคู่ค้า ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต ต่อมาจีนเปิดกว้างและปฏิรูปตลาดการค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ พร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและเปิดเส้นทางการค้ากับต่างประเทศเพื่อฉุดคนหลายร้อยล้านคนให้พ้นจากความยากจน จนถึงปัจจุบันจีนกลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แม้ว่าระบบเศรษฐกิจกระจายความมั่งคั่งสู่ประชาชน แต่กลับทำให้ความเหลื่อมล้ำมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาเศรษฐีจำนวนน้อยยืนอยู่บนจุดสูงสุดของปิรามิด ขณะที่ครอบครัวส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน

เศรษฐกิจในยุค 1950

ในช่วงทศวรรษ 1950 เป็นยุคของเหมาเจ๋อตงที่พยายามพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งประเทศอดอยาก และยิ่งลำบากมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปีทศวรรษ 1960 หลังยุคของประธานเหมาเข้าสู่สมัยการปฏิรูปของเติ้งเสี่ยวผิงเริ่มมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ชาวนาได้สิทธิ์ทำนาในแปลงของตัวเอง ปัญหาการขาดแคลนอาหารบรรเทาลง และมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น จีนและสหรัฐสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นใหม่ เงินทุนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากแรงงานราคาถูก ต้นทุนค่าเช่าที่ดินถูก เศรษฐกิจจีน เติบโตแบบก้าวกระโดดน่าประทับใจที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

จีนกลายเป็นประเทศการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตภัณฑ์สินค้าจากจีนมีขายอยู่ทั่วไปเพราะต้นทุนการผลิตต่ำทำให้ขายราคาถูก เหมาะสมกับยุคเศรษฐกิจในยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าจากจีนจึงเป็นที่ต้องการ โดยมีการสั่งซื้อจากหลายประเทศทั่วโลก การปฏิรูปเศรษฐกิจช่วยยกระดับชีวิตคนจีนหลายร้อยล้านคนให้กินดีอยู่ดีขึ้น อัตราความยากจนลดลง ประชาชนมีการศึกษาดีขึ้น คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า กำลังแรงงานของจีนเกือบ 30% จะได้เข้าศึกษาต่อถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยในสังคมจีนที่มีประชากรถึง 1,300 ล้านคน ความไม่เท่าเทียมยิ่งเพิ่มสูงและเห็นชัดมากขึ้นว่าความสำเร็จทางเศรษฐกิจก็ยังไม่แพร่กระจายอย่างทั่วถึง ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนา เศรษฐกิจโลก ที่มีความรวยแบบกระจุกตัวอยู่ที่นายทุนจำนวนน้อยรายในประเทศก้าวใหม่ของจีนจะกระทบเศรษฐกิจโลกอย่างไร

ปัญหาความเหลื่อมล้ำส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ คนรวยมีความมั่งคั่งสูง ชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น แต่ชุมชนชนบทยังยากจน แรงงานขาดทักษะความรู้และมีความชรา ปัญหาความไม่เท่าเทียมในระบบเศรษฐกิจของเวเนซูเอล่าเป็นโมเดลที่นักเศรษฐศาสตร์ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยรู้สึกเสียวสยองยิ่งว่าประเทศของตนเองกำลังจะเดินทางรอยหายนะนั้น เนื่องจากเศรษฐกิจทั้งหมดไม่ก้าวหน้า กลับกระตุ้นความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างคนรวยและคนจน ธนาคารโลกชี้ชัดว่ารายได้ของจีนต่อคนยังคงต่ำมาก อยู่ในเกณฑ์ของประเทศกำลังพัฒนา รายได้เฉลี่ยต่อปีของจีนอยู่ที่ 300,000 บาท เทียบกับคนอเมริกันซึ่งอยู่ที่ 1.86 ล้านบาท ทั้งที่มหาเศรษฐีและบริษัทธุรกิจจีนรวยติดอันดับท็อปของโลก ยิ่งเวลานี้จีนอยู่ในยุคที่ความเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง หลายปีที่ผ่านมาภาคธุรกิจพยายามลดการพึ่งพาการส่งออก เนื่องจากความต้องการสินค้าทั่วโลกลดลงและสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ยืดเยื้อ แรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีประชากรสูงอายุมากขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

จีนยังคงเป็นกลไกสำคัญที่สุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ขณะนี้จีนกำลังเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนที่ครอบคลุมทั่วโลก ทดแทนการพึ่งพาตลาดสหรัฐ ต้องติดตามกันว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่และการสร้างเส้นทางสายไหมใหม่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างไรต่อไป

อัพเดทปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลก 2019 ที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

อัพเดทปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลก 2019 ที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

ตลอดปี 2019 นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการทั่วโลกวิเคราะห์ว่า คนทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง จากระบบเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งคาดว่า ในปี 2020 จะอยู่ในภาวะถดถอยที่เห็นได้ชัดกว่าปัจจุบัน

โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขในตลาดหุ้นใหญ่ เช่น S&P ,Dow Jones ตลอดจนทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนระหว่างประเทศ ราคาทองคำและน้ำมันดิบ ฯลฯ อันเป็นดัชนีชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่สำคัญ กูรูทางด้านการเงินการตลาดให้เหตุผลว่า การที่เศรษฐกิจโลกมีการผันผวนมากต่อเนื่องมาหลายปีนั้น เกิดเนื่องจากสงครามทางการค้าที่ยืดเยื้อมาหลายปี ระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา

ปัญหานโยบาย American First

โดยเฉพาะตั้งแต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้คะแนนเสียงเป็นผู้ชนะจากการเลือกตั้ง ให้เป็นประธานาธิบดี คนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา ในปี 2016 มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้นโยบายตอนหาเสียงว่า American First เพื่อสร้างความหวังในการแก้ ปัญหาเศรษฐกิจ ฝืดเคือง ยาเสพติด คนว่างงาน ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับประเทศต่าง ๆ จำนวนมากเรื่อยมา ที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศเม็กซิโก ที่เคยมีกรณีพิพาทเรื่องของการให้ก่อสร้างกำแพง ลดการลักลอบเข้าไปทำงานในสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย และยังทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา รวมถึงปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์สินค้า ทั้งหมวดอุตสาหกรรม อาหาร และผลิตภัณฑ์กลุ่มไอที ที่ Huawei ได้รับผลกระทบดังที่เป็นข่าวทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมา

นอกจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาแล้ว การที่ประเทศอังกฤษจะส่งมอบสิทธิ์การปกครองฮ่องกงคืนให้แก่จีน ในปี 2047 ที่กำลังมาถึง (ปัจจุบัน ฮ่องกงปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบอบ) ก็ทำให้เกิดม็อบจากกลุ่มคนฮ่องกงรุ่นใหม่ที่ไม่ยินยอมอยู่ภายใต้กฎระเบียบต่าง ๆ ของจีน ทำให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงปิดสนามบินและการจลาจลต่าง ๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจของฮ่องกงได้รับผลกระทบ ซึ่งส่งผลต่อประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียอย่างไทย ที่มีการทำธุรกิจร่วมกัน เช่น การค้า สายการบิน รายการโทรทัศน์ ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมา ทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่เคยมีมูลค่าสูงในตลาดหุ้น ต่างปรับตัว มีการควบรวมกิจการ บางแบรนด์สินค้าที่เคยมีการเปิดหลายสาขาก็ต้องทยอยปิดตัว เพื่อลดค่าใช้จ่ายต้นทุน

ประกอบกับ ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์ด้านการตลาด ทำงานแทนคนได้ในหลายกระบวนการของอุตสาหกรรม จึงมีจำนวนผู้ว่างงานมากขึ้น จากการเลิกจ้างทั้งแบบกะทันหันและแบบมีการแจ้งล่วงหน้า โดยมีการปรับลดอัตราเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง

กูรูด้านการลงทุนและการตลาดจึงให้คำแนะนำว่า ผู้ที่คิดลงทุนทำธุรกิจใหม่ หรือลงทุนทางการเงินในตลาดหุ้น ในปี 2019-2020 ต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพราะภาวะเศรษฐกิจโลกมีความอ่อนไหวตามนโยบายทางการเมืองของผู้นำในหลายประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกา

ปัญหานโยบาย American First

ภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลอย่างไรต่อคนไทย 2019

ภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลอย่างไรต่อคนไทย 2019

ภาวะเศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันมีความผันผวนอย่างมาก เนื่องจากมีสงครามทางการค้าระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีนกับสหรัฐ เกาหลีใต้กับญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะการค้าระหว่างกันทั่วโลก เนื่องจากนโยบายด้านภาษี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย

ด้วยภาวะที่มีความกดดันดังกล่าว จึงทำให้หลายประเทศมีนโยบายควบคุมการลงทุนจากต่างชาติเพื่อพยุงเศรษฐกิจภายใน ส่งเสริมการจ้างงานในประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนที่ก่อนหน้านี้มีนักธุรกิจไทยจำนวนมากไปลงทุนไว้

ทำไมเศรษฐกิจไทย ถึงตกอยู่ในสภาวะที่ฝืด

เมื่อเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา จึงทำให้เศรษฐกิจไทยมีภาวะฝืดตามไปด้วย ระดับรายได้ของผู้ที่เคยมีฐานะร่ำรวย คิดเป็นสัดส่วนลดลง ประกอบกับค่าเงินที่แข็งตัว ทำให้โอกาสในการลงทุนจากต่างประเทศน้อยลง ผู้ที่ต้องการทำสินค้าส่งออก เช่น ธุรกิจ Start Up ที่มีเงินทุนระดับ 10-20 ล้าน จึงอยู่ในภาวะนิ่ง และโดยรวมพบว่าคนไทยที่มีรายได้ปานกลางและน้อยมีสัดส่วนมากขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมา

สงครามการค้าที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ปัญหาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ที่แม้จะมีการยืดอายุการเพิ่มอัตราภาษีและการแบนสินค้าจากจีนหลายรายการ แต่ก็ยังมีท่าทีที่จะยืดเยื้อต่อไปอีกยาวนาน ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกสินค้าจำพวกอะไหล่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิส์หลายประเภท ที่มีท่าทีจะซบเซาอย่างต่อเนื่อง

ในด้านการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ปัญหาความขัดแย้งภายในระหว่างประเทศจีนกับฮ่องกง ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และมีการปิดสนามบินเป็นระยะ ทำให้กระทบต่อธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวอย่างมาก ยังไม่รวมปัญหาที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องอยู่ในภาวะรัดเข็มขัด เพราะต่างไม่มั่นใจในเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศ จึงมีจำนวนการจองห้องพักน้อยลง แม้จะเป็นช่วง Hi-Season ซึ่งผู้ที่ทำธุรกิจการโรงแรม ทัวร์ ต่างต้องประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์อย่างหนักหน่วง และหาอาชีพเสริมอื่น ๆ เพื่อให้มีรายได้สำรองหลายช่องทาง

ทำไมเศรษญกิจไทย ถึงตกอยู่ในสภาวะที่ฝืด

สำหรับผู้ที่เล่นหุ้น ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนแนะนำว่าให้ชะลอการเสี่ยง โดยการเก็บเป็นเงินสดสำรองไว้ และเพิ่มเปอร์เซ็นต์การลงทุนของพอร์ตไปทางด้านกองทุนที่ไว้ใจได้ จะทำให้รักษาอัตราเงินตอบแทน หรือการปันผลในระดับปานกลางได้อยู่ ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้ามาเสี่ยงในตลาดหุ้น หากเป็นมือใหม่ต้องทำการศึกษาอย่างรอบคอบ เพราะเป็นช่วงที่ตลาดมีสัญญาณการเคลื่อนไหวไปทางด้านลบ ทำให้มีโอกาสสูญเสียเงินต้นมากกว่าการได้กำไร

กล่าวได้ว่า ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก ย่อมส่งผลต่อคนไทย เราทุกคนจึงต้องติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ตลอดเวลา

สงครามการค้าฉุดเศรษฐกิจโลก และกระทบต่อไทยไม่ต่างกัน

สงครามการค้าฉุดเศรษฐกิจโลก และกระทบต่อไทยไม่ต่างกัน

โลกเคยมองจีนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แต่ทุกวันนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนชะลอตัวส่งสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภาคการผลิตตกต่ำกระจายไปทั่วเอเชีย การผลิตหดตัวทั้งในประเทศจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ไต้หวัน อีกทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนยิ่งบานปลายมากขึ้น นานหลายปีทีเดียวที่อเมริกากังวลการสยายปีกทางการค้าและอำนาจของจีน แต่สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าในเวลานี้คือกลัวว่าจีนจะหมดพลังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของโลกได้อีกต่อไป

ความวิตกกังวลของ สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ

ปริมาณการผลิตของโรงงานทั่วเอเชีย รวมทั้งไทย หดตัวลงมากในเดือนกรกฎาคมที่ผ่าน สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐน่าเป็นห่วง ผลกระทบจากการชะลอตัวของจีนที่หดตัวเป็นเดือนที่สองติดต่อกันอาจฉุดเศรษฐกิจโลกหันไปสู่ภาวะถดถอย ปัญหาตกงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย มองที่เอเชียเหนือจะเห็นว่าการส่งออกของญี่ปุ่น, เกาหลีใต้และไต้หวันได้รับผลกระทบมาระยะหนึ่งแล้ว พิษการค้าฟาดหางมาถึงประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่การส่งออกและการผลิตลดลงมาก การผลิตในยุโรปหดตัวลงเช่นกัน

ธนาคารกลางสหรัฐยอมรับว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดของจีนช่วยให้เศรษฐกิจโลกหลุดพ้นจากวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทางธนาคารกลางสหรัฐเพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อป้องกันภาวะตกต่ำครั้งต่อไป ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นและธนาคารกลางยุโรปกำลังรอดูท่าทีอยู่เหมือนกัน ถ้าความตึงเครียดทางการค้ายังคงคุกร่นก็เป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง

นักวิเคราะห์กล่าวว่าประเทศจีนเป็นศูนย์กลางของแรงดึงดูดทางเศรษฐกิจของเอเชีย แต่การผลิตในโรงงานกำลังชะลอตัวและแนวโน้มยังคงน่ากังวลเป็นผลจากความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐ ภาคการผลิตของจีนลดการจ้างงานถึง 5 ล้านคนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เกือบครึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้านั่นเอง การเจรจาการค้ารอบสั้นในเซี่ยงไฮ้มีสัญญาณความคืบหน้าเล็กน้อย สหรัฐและจีนตกลงกันว่าจะเปิดฉากคุยกันใหม่ในเดือนกันยายน เส้นทางการเจรจาในอนาคตมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกแน่นอน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศเตือนว่าข้อพิพาททางการค้าส่งผลให้ผลผลิตทั่วโลกลดลง 0.2% นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าถ้าสงครามการค้าบานปลายอาจเกิดภาวะถดถอยทั่วโลก ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในปี 2562 จะลดลง 0.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยจะลดลงมากถึง 3.1% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์ข่าวกรองเศรษฐกิจ SCB ที่คาดการณ์ว่าการส่งออกของประเทศจะลดลงในปีนี้ระหว่าง 1.6-3.1% ในยามที่การส่งออกเริ่มติดลบสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตและส่งออก ยิ่งต้องจับตาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนให้ดี โดยเฉพาะแนวโน้มการผลิตที่ลดลงจะดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปี หรือจนกว่าการเจรจาการค้าของสองยักษ์ทางเศรษฐกิจโลกจะมีนโยบายที่ชัดเจน

ความวิตกกังวลของ สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ

เตือนภัยอาชญากรรมทางไซเบอร์คุกคามเศรษฐกิจโลก

มาดูการสำรวจความคิดเห็นของ CEO ระดับโลก

ทุกวันนี้ภาคธุรกิจใช้ไซเบอร์สเปซเป็นเครื่องมือการติดต่อสื่อสารและการตลาดที่ทรงอานุภาพ ช่วยโฆษณาผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นที่รู้จักรวดเร็วและขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น ถือเป็นช่องประหยัดต้นทุนสำหรับธุรกิจเริ่มต้นที่มีงบประมาณไม่มาก และธุรกิจที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี โลกไซเบอร์มีช่องโหว่และปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นภัยคุกคามที่อันตรายต่อหมายเลขหนึ่งต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 5-10 ปีข้างหน้า บรรดาผู้บริหารองค์กรกำลังคำนึงเรื่องประเด็นความปลอดภัย หาทางป้องกันและรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ

มาดูการสำรวจความคิดเห็นของ CEO ระดับโลก

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการสำรวจความเห็นของซีอีโอระดับโลก 200 คนในธุรกิจเอกชนรายใหญ่สุดที่ติดอันดับแถวหน้าของนิตยสาร Forbes รวมถึงอบถามความเห็นนักลงทุนอาวุโส 100 คนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก พบว่าเห็นตรงกันในเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์สเปซน่าวิตกที่สุดสำหรับเศรษฐกิจโลกในทศวรรษหน้า รองลงไปเป็นเรื่องรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันและการตกงานจากเทคโนโลยีปัญหาประดิษฐ์เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ภัยคุมคามทางไซเบอร์ยังน่ากังวลกว่าสงครามภาษีและปัญหาสภาพแวดล้อม ซีอีโอระดับโลกเห็นตรงกันว่าบริษัทใหญ่ทั่วโลกควรร่วมมือแก้ไขปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์สเปซ เนื่องจากแฮกเกอร์รุ่นใหม่เก่งขึ้นเรื่อย ๆ สามารถเขียนโค้ดแบบซับซ้อนเพื่อใช้เจาะข้อมูลและโจมตีระบบ ยิ่งวิธีการของคนร้ายหลากหลายมากเท่าไร การป้องกันก็ยากมากขึ้นเท่านั้น แฮกเกอร์จะเปลี่ยนรูปแบบใหม่และล้ำหน้ากว่าระบบรักษาความปลอดภัยอยู่หนึ่งก้าวเสมอ จนเหมือนกับสำนวนที่ว่า วัวหายล้อมคอก หลังจากเกิดเหตุการณ์หลายครั้ง

เมื่อประเมินความเสี่ยงทางไซเบอร์ในอนาคตพบว่าสิ่งที่น่าจะได้รับผลกระทบจากการโจมตีของแฮกเกอร์มากที่สุดคือเครือข่ายไร้สาย 5G, ปัญญาประดิษฐ์ และไบโอเมตริก เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นที่นิยมและเติบโตรวดเร็วเท่าไรก็ยิ่งเกิดปัญหา ตัวอย่างเช่น เครือข่ายไร้สาย 5G ทำงานได้เร็วกว่าอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันเกือบ 1,000 เท่าซึ่งจะทำให้อาชญากรสามารถโจมตีได้รวดเร็วในระดับ 5G เช่นเดียวกัน กลายเป็นปัญหาด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ที่รับมือยากที่สุด เพราะการโจมตีบนเครือข่ายย่อมหมายความว่าแฮกเกอร์เจาะระบบอุปกรณ์ทั้งหมดได้ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือรถยนต์ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่น่ากลัวมาก

แฮกเกอร์เข้าถึงเครือข่ายไร้สายในรถยนต์ผ่านทางบลูทูธ สัญญาณวิทยุ และระบบซอฟต์แวร์ทันสมัยต่าง ๆ โจรขโมยรถยนต์ผ่านเครือข่ายไร้สายได้ง่าย ๆ โดยการติดตามผ่าน GPS บนแผนที่โดยที่คนขับไม่รู้ตัว จากนั้นใช้คอมพิวเตอร์สั่งปลดล็อกประตูจากระยะไกล จัดการกับระบบกันขโมยและเจาะซอฟต์แวร์สั่งสตาร์ทเครื่องยนต์ รถยนต์แบรนด์ไหน รุ่นไหน เจาะเข้าระบบง่ายก็หวั่นใจได้เลย มีผลกระทบอย่างแน่นอน

สำหรับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ถือว่าพัฒนามาไกลและใช้ยกระดับการป้องกันการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็เปรียบได้กับดาบสองคม แม้ว่าด้านหนึ่งใช้สร้างระบบการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลก แต่อีกด้านจะเป็นเทคโนโลยีที่แฮกเกอร์สนใจเข้าตรวจสอบก่อนอื่น เพื่อมองหาช่องโหว่ที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อก่ออาชญากรรมไซเบอร์ในที่สุด

มาถึงเทคโนโลยีลำดับที่สามคือไบโอเมตริกหรือกาตรวจสอบทางชีวภาพ ซึ่งถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในเศรษฐกิจทั่วโลก เช่น การเจาะเข้าระบบฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บลักษณะทางชีวิตภาพของคนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเสียง ใบหน้า ลายนิ้วมือ ทำให้อาชญากรไซเบอร์นำข้อมูลอาชญากรไซเบอร์ไปใช้ประโยชน์ก่ออาชญากรรมได้ง่าย หากบรรดาบริษัทใหญ่ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ การร่วมมือกันจะสร้างโลกไซเบอร์ที่ปลอดภัยและป้องกันผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เตือนภัยอาชญากรรมทางไซเบอร์คุกคามเศรษฐกิจโลก

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยใน ปี 2019

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยใน ปี 2019

ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจโลกได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย ดังนั้นการรู้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกมีทิศทางเป็นเช่นไร จะสามารถช่วยให้นักธุรกิจสามารถรับมือกับภาวะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบที่เกิดจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกได้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันนั้นมีความผันผวนและเปลี่ยนแปรไปอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นการติดตามภาวะเศรษฐกิจจึงต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และในปี 2019 นี้สามารถสรุปสถานการณ์ เศรษฐกิจโลกได้ดังต่อไปนี้

สงครามทางการค้าส่งผลต่อ GDP

สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมากในปี 2019 นี้ก็คือสงครามทางการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการคาดการณ์โดยนักเศรษฐกิจของธนาคารกสิกรไทยคาดว่าสงครามทางการค้านี้จะส่งผลให้อัตรา GDP ของประเทศไทยลดลงจากที่คาดการณ์เอาไว้เดิมถึง 0.6% เลยทีเดียว

อัตราการส่งออกลดลงจากปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัว

การซื้อขายเงินตราในตลาดเศรษฐกิจโลกส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเงินบาทในตลาดโลกโดยตรง ซึ่งในขณะนี้อัตราค่าเงินบาทได้ไต่ขึ้นไปอันดับสูงที่สุดกว่าสกุลเงินอื่น ๆ ในอาเซียนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้อัตราการส่งออกชะลอตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดตามไปด้วย แต่ธุรกิจด้านการนำเข้าคาดว่าจะได้รับอานิสงส์ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาที่ถูกขึ้น

นักท่องเที่ยวมีเงื่อนไขอื่น ๆ ทำให้มาเยือนประเทศไทยลดลง

เนื่องจากในปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีการตื่นตัวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อประจวบกับอัตราค่าเงินบาทของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยมีอัตราลดลง โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่สำคัญของประเทศไทย

ผลการประชุม G20 ไม่ได้ให้ทิศทางที่ดีต่อเศรษฐกิจเท่าที่ควร

การประชุม G20 คือการเข้าร่วมประชุมของประเทศที่ถือเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจโลกจำนวน 20 ประเทศ ซึ่งหลายฝ่ายได้คาดการณ์ว่าการประชุมนี้จะช่วยลดปัญหาสงครามทางการค้าโลกให้มีทิศทางที่ดีขึ้นได้ แต่กลับพบว่ายังอยู่ในภาวะแบ่งรับแบ่งสู้และมีโอกาสที่สงครามทางการค้าระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาจะเกิดการปะทุขึ้นใหม่ได้ทุกเมื่อ จึงส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้มากนัก

ประเทศมหาอำนาจด้านการค้าหลายแห่งมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

สภาพเศรษฐกิจในประเทสมหาอำนาจทางการค้าโลกอย่างญี่ปุ่นหรือยุโรปมีผลกระทบที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว จึงส่งผลต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ Brexit ในยุโรป หรือนโยบายทางการเงินของประเทศญี่ปุ่นที่เปราะบางลงเพราะปัญหาสงครามการค้าระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ด้วยปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกต่าง ๆ เช่นนี้ จึงทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย นักธุรกิจจึงต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ได้เพื่อลดผลกระทบที่คาดว่าจะยังมีปัญหาในระยะยาวให้ดีที่สุด

สงครามทางการค้าส่งผลต่อ GDP

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและผลกระทบที่คนไทยควรรู้ ปี 2019

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและผลกระทบที่คนไทยควรรู้ ปี 2019

ในปี 2019 มีการวิเคราะห์จากสถาบันทางการเงินและการธนาคารหลายแห่ง มองในภาพรวมคล้ายกันว่าเรากำลังอยู่ในช่วงที่เป็นเศรษฐกิจขาลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

สำหรับการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์และการเงิน ได้มีการแบ่งกลุ่มประเทศเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. DM หรือ Developed Markets หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ถ้าในโซนยุโรป อันได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เป็นต้น ส่วนประเทศกลุ่ม DM ในโซนเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ฯลฯ ที่ในภาพรวมปีนี้จะมีการขยายตัวที่น้อยลง

2. EM หรือ Emerging Markets เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น ประเทศไทย จีน อินเดีย เม็กซิโก รัสเซีย แอฟริกาใต้ เป็นต้น มีการวิเคราะห์ว่าประเทศกลุ่ม EM ในปี 2019 จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะคงตัว

จากแนวโน้มของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศทั้ง DM และ EM พบว่าปัจจุบันเศรษฐกิจของโลกค่อนข้างตึงตัวกว่าปีที่ผ่านมา หากวาดรูปกราฟเศรษฐกิจเปรียบเทียบตามช่วงปี จะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงปี 2019 เศรษฐกิจชะลอตัวจากช่วงพีคหรือจุดสูงสุดในปี 2018 อย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจในการลงทุนของนักธุรกิจทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการเติบโตของตลาดแรงงานที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของสังคมประเทศส่วนใหญ่ของโลกได้บ้าง

แต่ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่วางแผนจะไปทำงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (ซึ่งมักมีค่าตอบแทนสูงกว่ารายได้เฉลี่ยในประเทศกลุ่มกำลังพัฒนา) ในช่วงปี 2019 นี้ อาจจะค่อนข้างมีการแข่งขันสูง เนื่องจากมีรายงานสถิติว่ามีภาวะจ้างงานเต็มพิกัด หรือ full-employment ซึ่งแสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในที่อยู่ในภาวะร้อนแรงอย่างมาก

สำหรับการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์และการเงิน

ในทางการเกษตรและกสิกรรม ประเทศกลุ่ม EM อย่างไทยก็ได้รับผลกระทบในด้านการส่งออก เช่น ข้าว ปาล์ม อ้อย ที่มีล้นตลาด จนทำให้ราคาของพืชเกษตรเหล่านี้ตกต่ำอย่างที่เห็นได้ในข่าวเศรษฐกิจที่มีรายงานว่าเกษตรกรไทยกำลังประสบปัญหาราคาของสินค้าอุตสาหกรรมด้านเกษตรกรรมอยู่หลายชนิด ซึ่งถือว่าเป็นจุดต่ำสุดที่เทียบกับช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา จนกระทั่งในช่วงของการเลือกตั้งช่วงต้นปี ก็มีการนำไปเป็นนโยบายที่จะผลักดันเพิ่มราคาของผลผลิตทางการเกษตรของไทย

ในด้านการลงทุนของเอกชน ในปีนี้นักธุรกิจต้องพิจารณาให้ดี โดยเฉพาะในประเทศจีนที่กำลังเน้นนโยบายควบคุมการก่อหนี้ ส่งเสริมรายได้ให้แก่คนในประเทศ ควบคุมค่าใช้จ่าย ชะลอการแข่งขันจากต่างชาติ ฯลฯ อันสืบเนื่องมาจากภาวะตึงเครียดทางการค้ากับประเทศสหรัฐอเมริกา

กล่าวได้ว่า ในปี 2019 เป็นปีที่ต้องมีการวางแผนและตัดสินใจการลงทุนต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งนักลงทุนที่คิดจะไปทำธุรกิจค้าขายในประเทศ ต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดด้วย